- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- การฝึกมากเกิน (Overtraining)
การฝึกมากเกิน (Overtraining)
การฝึกมากเกิน (Overtraining) เป็นปัญหาปกติในนักกีฬามืออาชีพ (elite athletes) ที่มีความทุ่มเทให้กับการฝึกฝนอย่างหนักเพื่อให้สมรรถภาพร่างการอยู่ในระดับที่ดีมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการขาดความสมดุลกับการฟื้นตัวในระยะเวลาที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งมีความเหนื่อยล้าทั้งทางกายและจิตใจเป็นเวลานาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดที่นักกีฬาไม่สามารถฝึกซ้อมต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักกีฬาอารู้สึกถึงความจำเจ และเหนื่อยล้าง่าย การฝึกมากเกินนำไปสู่ความเจ็บป่วยบ่อยและสมรรถภาพลดลง บ่อยครั้งที่นักกีฬาไม่สามารถรักษาระดับความหนักในการฝึกทำได้ไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุเกิดจากนักกีฬามักจะทดสอบตัวเองโดยการเพิ่มความหนักการฝึกเร็วเกินไป (increasing training volume or intensity too rapidly) แลเพิ่มความถี่ในการฝึกสูงกว่าระดับที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง (frequency of training above optimal level) จึงนำไปสู่อาการของการฝึกมากเกิน ประกอบกับนักกีฬามีเวลาในการฟื้นตัวไม่เพียงพอในช่วงฤดูการฝึกดังกล่าว การแก้ปัญหาของอาการเหล่านี้ทำได้โดยให้นักกีฬามีการพักผ่อนที่ใช้เวลานานพอและลดความหนักในการฝึกลงซึ่งต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนแต่ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้นักกีฬามีสมรรถภาพกลับคืนสู่สภาพเดิม
การฝึกมากเกิน เป็นปัญหาที่สำคัญในหลายชนิดกีฬา เพราะผึกสอนและนักกีฬาหลายคนต่างมีอาการที่ว่านี้เหมือนกัน ทัศนคติที่ว่า “การฝึกที่มากกว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า” เน้นปริมาณเป็นส่วนหลักของการฝึก (quantity of training) การฝึกซ้อมควรมุ่งเน้นที่คุณภาพมากกว่า บทบาทของผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยสอน (trainer) จึงควรช่วยเหลือให้นักกีฬามีสมรรถภาพทางกายที่เหมาะสมที่สุดดังนั้น จึงควรมีการตรวจสอบโซน (zone) การฝึกในระหว่างการฝึกว่ามีการฝึกน้อยหรือมาเกินไป
การฝึกจะต้องมีความสมดุลของหลักการฝึก (Principle of training) ในความเป็นจริงการฝึกนักกีฬาชั้นยอดเป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์อยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์อันเป็นรากฐานของการปรับตัวจากการฝึก (training adaptation) ร่วมกับปัญญาญาณ (intuition) ของผู้ฝึกสอนและการสังเกตนักกีฬาแต่ละคนในเรื่องการปรับตัวต่อการฝึกหนัก อย่างไรก็ดี สมรรถภาพนักกีฬาที่ดีและเหมาะที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับการฝึกในทางบวก ในขณะที่ผลกระทบในแง่ลบที่ซ้อนแฝงอยู่จากการฝึกหนักมาเกินความจำเป็น
ผู้ฝึกสอนควรจะตรวจสอบเสรีวิทยาซึ่งจะรู้ได้ว่านักกีฬามีการใช้ออกซิเจน (Oxygen consumption), อัตราการเต้นของหัวใจ, และระดับแลกเตทในเลือดเพิ่มมากขึ้นบางครั้งก็มีสัญญาณที่ผู้ฝึกสอนสังเกตและ รู้ได้ว่านักกีฬาหลายคนอาจไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความมีอาการการฝึกมากเกิน (overtraining) หากมีบ่อยครั้งที่ผู้ฝึกสอนพบอาการเหล่านี้ควรคาดคะเนว่านักกีฬามีมีอาการดังกล่าวและทำงานร่วมกับนักกีฬา เพื่อค้นหาความสมดุลในการฝึกและช่วงหยุดพัก (rest) ของนักกีฬาเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและมีความต้องการที่จะแข่งขัน
ลักษณะอาการของการฝึกมากเกินที่มาจากสัญญาณร่างกาย มีดังต่อไปนี้
- สมรรถภาพทางการลดลงอย่างรวดเร็วหรือค่อยลดลงที่ละน้อย ๆ
- อัตราเต้นของหัวใจในขณะพัก การฟื้นตัวในช่วงเช้าตรู่ สูงกว่าเดิม (สูงกว่า 5 – 10 ครั้งต่อนาทีวัดอัตราเต้นของหัวใจในตอนเช้าตรู่ขณะตื่นนอน)
- ขาดความสามารถในการฝึกให้ถึงระดับที่เคยทำได้มาก่อนหน้านี้
- สูญเสียการประสาทงานของกล้ามเนื้อและประสาท (coordination)
- ภายหลังการฝึกหนักสลับเบา (Interval) หรือออกกำลังกาย การกลับคืนสู่สภาพปกติช้าลงกว่าเดิม
- อุณหภูมิร่างการเพิ่มขึ้น
- เพิ่มความระบมของกล้ามเนื้อ (muscle soreness)
- อัตราเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น
- นอนไม่หลับ
- น้ำหนักลดและมีความกระหายน้ำเพิ่มขึ้น
ลักษณะอาการของการฝึกมากเกินที่มาจากสัญญาณจิตใจ มีดังต่อไปนี้
- มีความรู้สึกไวต่อความเจ็บป่วย ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ เพิ่มขึ้น
- หดหู่ใจ ไร้อาการณ์
- สูญเสียแรงจูงใจ และมีภาวะอาการณ์ไม่มั่นคง
- วิตกกังวล กลัวการแข่งขัน
- สมาธิแย่ลง
- เหนื่อย เรื้อรัง
- สับสน มึนงง
- สูญเสียความยากอาหาร
ลักษณะอาการของการฝึกมากเกินในระดับที่หนักเกินไป มีดังนี้
- ข้อต่อและเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มแบะบอบบางเกินไป
- การอักเสบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหรือมีการฉีกขอด
- สูญเสียน้ำหนักหนักมาเกินไป
- แรงดันของก้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่นเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย
- ขาดต่อความมั่งคง (joint instability)
- ได้รับการบาดเจ็บต้องเข้ารับการผ่าตัด
เมื่อมีสัญญาณอาการฝึกมากเกินเกิดขึ้น ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาควรจะแจ้งให้ทราบอย่างทันทีเพื่อแก้ปัญหาและทำการเยียวยามิให้เกิดขึ้นเพิ่มมากไปกว่านั้นอีก การมากกว่าเดิม การรักษาที่มีประสิทธิผลมากที่สุดสำหรับอาการฝึกซ้อมมากเกิน คือ การหยุดพัก
ในทางจิตวิทยา อาจจะเป็นการยากที่จำแนกในการเยียวยาให้ดีที่สุด หรือป้องกันการฝึกมากเกิน อาจจะมาจากความเครียดที่มาจากภายนอก เช่น ครอบครัวความสัมพันธ์ ที่ทำงาน โรงเรียน และการเงิน หากมีปัญหาเล็กน้อย พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กควรอธิบายหรือชี้แจงให้เข้าใจ บ่อยครั้งที่นักกีฬามักจะมีปัญหารุนแรงมาจากข้างนอก จึงเห็นตัวเร่งความเครียดทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อโปรแกรมการฝึก ขณะเดียวกันผู้ฝึกสอนก็ต้องพินิจพิจารณา หมั่นคอยสังเกตลักษณะอาการ อย่างไรก็ตามพอมีวิธีการที่จะช่วยเหลือได้ดังนี้
- เปลี่ยนรูปแบบการฝึกให้หลากหลายให้มากขึ้น
- ให้เวลา (พัก) สม่ำเสมอเพื่อฟื้นร่างรายให้กับคืนสู่สภาพเดิม
- ใช้เทคนิคการฝึกจินตภาพและจิตใจอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การสอบถามความปรารถนาของนักกีฬาที่จะบรรลุความสำเร็จในช่วงของการฝึกซ้อม
* การฝึกซ้อมที่หนักเกินกว่าร่างกายจะรับได้ไม่มีผลดีแต่อย่างใดนะครับ "ซ้อมให้น้อยลงสักนิด ชีวิตจะมีความสุขกว่าครับ
เครดิต พิชิตชน สุนทรวร เป้ มหาชัย กลุ่ม 100 Rpm Room
-
Hits39352 views
-
Tags