- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- ใช้เกียร์จักรยานให้ถูก ขี่ง่ายไม่พังเร็ว
ใช้เกียร์จักรยานให้ถูก ขี่ง่ายไม่พังเร็ว
จักรยานแทบทุกชนิดล้วนมีเกียร์ทั้งนั้น ซึ่งเกียร์ของจักรยานก็ทำหน้าที่เหมือนเกียร์ในรถยนต์หรือจักรยานยนต์ที่ช่วยเสริมกำลังให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความเร็วที่เราต้องการ
โดยเกียร์ของจักรยานจะประกอบด้วยจานเฟือง 2 ตำแหน่ง ได้แก่จานหน้าและจานหลัง ซึ่งแต่ละจานจะมีจำนวนและขนาดไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของจักรยานและรุ่นของเกียร์ โดยการวางตำแหน่งของจานหน้าจะช่วยให้การขี่ของเราง่ายขึ้น เช่น เกียร์ใบเล็กสุด (เกียร์เบอร์ 1) จะมีน้ำหนักเบาสุด เหมาะกับการปั่นขึ้นเนินหรือสะพาน เกียร์ใบกลาง (เกียร์เบอร์ 2 ในบางรุ่น) เหมาะกับการปั่นชิล ๆ กินลมหรือปั่นออกกำลังกายเน้นจำนวนรอบขา และเกียร์ใบใหญ่สุด (เกียร์เบอร์ 2 หรือ 3 ในบางรุ่น) เหมาะกับการปั่นทำความเร็ว ส่วนจานหลังไว้สำหรับปรับตามกำลังขาของเราและเพิ่มความเร็วของจักรยานตามต้องการ
สำหรับมือใหม่ได้จักรยานมาวันแรกคงสงสัยว่า ไอ้ตัวเลขเยอะๆพอเปลี่ยนเกียร์แล้ว ขามันเบาขึ้นหรือขามันหนักขึ้น การใช้งานจริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร...
ถ้าว่ากันตามหลักเลยก็คือเปลี่ยนเกียร์ให้โซ่ใช้งานได้ยืนยาวนั่นเอง วิธีการคือ ให้มองรถจากด้านหลัง ถ้าหากเกียร์หน้าอยู่ซ้ายมือ(จานเล็กสุด) เกียร์หลังก็พยายามใช้ด้านซ้ายเหมือนกัน, ถ้าหากเกียร์อยู่กลาง(จานกลาง)เกียร์หลังก็พยายามใช้ให้อยู่กลางๆ , ถ้าหากเกียร์หน้าอยู่ขวามือ(จานใหญ่สุด)เกียร์หลังก็พยายามใช้ให้อยู่ขวาสุด อาจจะงงนะครับดูรูปที่แนบไปน่าจะพอเข้าใจนะครับ
ระบบเกียร์จักรยาน
เทคนิค การเลือกใช้ตำแหน่งสับจานหน้าในสถานะการณ์ต่างๆ การเปลี่ยนตำแหน่งสับจานหน้านั้น ไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้สะดวก รวดเร็วเหมือนอย่างการเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลัง เพราะระยะห่างระหว่างใบจานหน้า รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างจำนวนฟันของใบจานหน้าแต่ละใบ ผิดกับชุดเฟืองหลังที่จะอยู่ชิดกันกว่ารวมไปถึงจำนวนฟันที่ต่อเนื่องกัน มากกว่า
การพิจารณาเลือกใช้และการตัดสินเปลี่ยนตำแหน่งจานหน้าในแต่ ละสถานการณ์อาจจะแตกต่างกันไปสำหรับหลายๆคน แต่ก็ยังคงมีเหตุผลหลักๆที่คนส่วนใหญ่ยอมรับมัน
1. สำหรับทางเรียบ คุณจะใช้จานกลางหรือจานใหญ่ก็สุดแล้วแต่ระดับความเร็วที่คุณใช้และแนวโซ่ที่ จะเบี่ยงเบน เช่นถ้าคุณเกาะกลุ่มในทางเรียบที่ความเร็วประมาณ 29-31กม/ชมแช่เป็นทางยาว แทนที่คุณจะใช้ตำแหน่งเกียร์ 2-9 ซึ่งแนวโซ่จะเบี่ยงเบนไปมาก ก็ควรจะเลือกใช้ตำแหน่งเกียร์ 3-7 ซึ่งแนวโซ่จะเป็นเส้นตรง
2. สำหรับทางลงเขา ควรใช้จานใหญ่ที่สุด ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึง ระดับความเร็วที่คุณกำลังปั่นส่งเพื่อลงเขาเท่านั้นหรือแม้จะเพียงปล่อยไหล ลงเขาก็ตาม เพราะว่าถ้าหากมีการล้มเกิดขึ้นโซ่ที่มาอยู่ในตำแหน่งจาน3 จะป้องกันขาของคุณจากความคมของยอดฟันใบจาน ซึ่งคมพอที่บาดขาคุณลงไปถึงกล้ามเนื้อได้
3. สำหรับกรณีขึ้นเขา คุณอาจจะมีแรงมากพอที่จะใช้จานกลางปั่นขึ้นเขาได้โดยตลอด และคิดว่าการเปลี่ยนมาใช้จานเล็กจะทำให้เสียเวลา ขอเพียงแค่คุณแรงถึง และแนวของโซ่ไม่เบี่ยงไปมากนักก็คงจะไม่เป็นไรมากเท่าไหร่ แต่ถ้าเกิดคุณขึ้นเขาด้วยเกียร์ 2-1หละครับผมว่าคุณใช้เกียร์ 1-4 จะไม่ดีกว่าหรือ อัตราทดใกล้เคียงกันแถมแนวโซ่ยังไม่เบี่ยงด้วย โซ่ในระบบเกียร์ 27 speeds จะบางกว่าโซ่ของระบบเกียร์ 24 speeds หรือระบบเดิมประมาณ0.6mm และต้องยอมรับว่าความแข็งแรงย่อมจะลดลงเป็นธรรมดา ซึ่งได้รับการยืนยันจากผู้ใช้หลายๆคนว่าโซ่ของระบบใหม่ขาดง่ายกว่าระบบเดิม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโซ่ใหม่หรือโซ่เดิม โอกาสโซ่ขาดอันเกิดจากการใช้งานที่ผิดวิธีย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ โซ่ขาดในระหว่างขึ้นเขาเป็นเหตุการณ์ที่พบได้เรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าข้อโซ่ทนแรงดึงไม่ไหว แต่ข้อโซ่ทนแรงบิดไม่ไหวต่างหาก คุณรู้หรือไม่ว่า โซ่จะบิดเกลียวและบิดตัวด้านข้างอย่างมากในขณะที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งจาน หน้า ถ้าบวกด้วยการออกแรงดึงโซ่อย่างหนัก เช่น ลดจานหน้าลงมาในขณะที่ขายังกดบันไดอย่างหนักเพื่อที่จะเอาชนะเนินสูงให้ได้ ก็อาจจะทำให้ข้อโซ่บิดจนหลุดออกมาได้ ขณะที่การเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลังนั้นจะทำได้ง่ายกว่า โซ่จะบิดตัวน้อยกว่า เนื่องจากระยะห่างระหว่างเฟืองแต่ละแผ่นมีน้อยกว่าระยะห่างระหว่างใบจานวิธี ที่ควรทำในระหว่างการขึ้นเขาก็คือ
- พิจารณาจากรอบขาและแรงที่เรายังมีอยู่
- ถ้าเนินที่เห็นข้างหน้า หนักหนากว่าที่จะใช้จาน2ได้ตลอดเนิน ก็ให้เปลี่ยนเป็นจาน1 เมื่อยังมีแรงและรอบขาเหลืออยู่ โดยลดแรงกดที่บันไดลงก่อน อย่าเปลี่ยนจานหน้าในขณะที่กำลังจะหมดแรงส่ง เพราะนั่นหมายถึงว่าคุณกำลังออกแรงย่ำบันไดอย่างหนักโดยที่บันไดแทบจะไม่ ขยับเลย ซึ่งนั่นหมายถึงว่าแรงตึงภายใน
- โซ่จะสูงมากจนน่าเป็นห่วงที่จะทำให้ข้อโซ่อ้าได้ จากนั้นมาเล่นรอบโดยการเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลังโดยใช้เฟืองที่เล็กลงก่อน เพื่อลดอาการ"หวือ"ของขาจากการที่ลดจานหน้าลง แล้วจึงเลือกเปลี่ยนตำแหน่งเฟืองหลังไปตามสถานะการณ์ แต่หลักการยังคงเหมือนเดิมคือ ให้เปลี่ยนเกียร์ในขณะที่ยังมีแรงหรือรอบขาเหลืออยู่ อย่าเปลี่ยนในขณะที่กำลังจะหมดแรงส่งด้วยเหตุผลที่เหมือนกับการสับจาน ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลให้โซ่ขาดต่อหน้าต่อตาแต่จะบั่นทอนอายุการใช้งานลงอย่าง คาดไม่ถึง (อาจจะเจอโซ่ขาดเอาดื้อๆขณะที่กำลังปั่นทั้งๆที่ไม่ได้เปลี่ยนเกียร์เลย ) และต้องลดแรงกดที่บันไดในเวลาเปลี่ยนเกียร์เช่นกัน