- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- ฟังเสียงหัวใจตัวเองซะบ้างก่อน overtraining จะถามหา
ฟังเสียงหัวใจตัวเองซะบ้างก่อน overtraining จะถามหา
การออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน มีหลากหลายรูปแบบ ในระดับเบื้องต้นขอแค่ได้ปั่นออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ไม่ว่าจะคิดได้ด้วยตัวเองหรือหมอสั่งมา ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น การออกกำลังด้วยการปั่นประเภทนี้ จัดว่าไม่หนัก เป็นการปั่นเบาๆ แค่เหนื่อยเล็กน้อยเหงื่อซึมๆ สามารถปั่นจักรยานได้ทุกวันอีกด้วย ปลอดภัยและไม่หนักจนเกินไป
แล้วถ้าเปลี่ยนจากการปั่นเพื่อสุขภาพเป็นแบบเพื่อสมรรถภาพล่ะ ใช่ครับปั่นเพื่อสุขภาพอยู่ดีๆไปเจอเพื่อน เจอพวกชวนไปปั่นไปเข้ากบุ่มด้วย คราวนี้ล่ะ การปั่นย่อมต้องเปลี่ยนไป เป้าหมายเดิมไม่พอแล้ว ต้องตามกลุ่มให้ทัน ต้องเพิ่มความเร็ว ปั่นไปสักพัก เร็วได้แล้ว ไม่หลุดกลุ่มแล้ว ทีนี้ เป้าหมายก็ขยับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ....หัวลาก
การจะเป็นหัวลากต้องทำอะไรอีกเยอะทีเดียว แค่เร็วอย่างเดียวไม่พอแล้วต้องอึดอย่างมากอีกด้วย แล้วจะต้องทำอย่างไรล่ะ > ก็ต้องฝึกหนักขึ้น หนักขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง แล้วถ้าหนักเกินขอบเขตที่ร่างกายจะรับได้ จะเกิดอะไรขึ้น การซ้อมทุกวันซ้อมหนักๆ มันไม่ทำให้ปั่นจักรยานได้ดีขึ้นเลย อาจจะดีขึ้นบ้างแต่น้อยมาก และการพัฒนาการทางด้านอื่นๆ ก็แย่ไปด้วยครับ เช่น อารมณ์ และ ผลเสียทางด้านอื่นๆ อีกมากมาย นึกถึงโปรแกรมการฝึกซ้อมบางอย่างแล้วมันก็หนักจริงๆ ถ้าซ้อมแบบหนักๆติดต่อกันเช่น ซ้อม 6 วันพักแค่1 วัน โดยบางคนไม่ได้มีการกำหนดว่าจะออกไปขี่แบบไหน คว้าจักรยานได้ ขึ้นคล่อม ก็ออกไปขี่ให้เหนื่อยสุดๆ ก็จบการซ้อมสำหรับวันนั้น บางคนเถียงอีกว่า ซ้อมมาแบบนี้มานานแล้วไม่เห็นเป็นไรเลย แต่สาเหตุที่ไม่เป็นไรเป็นเพราะ ระบบร่างกาย ยังดีและแข็งแรงอยู่เพราะยังหนุ่มยังสาว แต่เมื่อแก่ตัวลง ทุกอย่างค่อยๆเสื่อมลง คราวนี้ล่ะ ไอ้ที่ไม่ดีมันมาทุกอย่างเลย
เข้าใจนะครับว่า เพื่อนๆหลายๆท่านมีเป้าหมาย มีแรงจูงใจที่สูงในการไปสู่จุดที่ตัวเองมุ่งมั่น แม้บางครั้งซ้อมหนักมากๆ น่ะไม่เคยหวั่น ไม่เคยกลัว ใจเพื่อนน่ะเต็มร้อย แต่ร่างกายไม่เต็มร้อยตามไปด้วยนะครับ ให้ฟังสัญญานที่ส่งจากทางร่างกายบ้าง เช่น หัวใจและกล้ามเนื้อที่แสดงความอ่อนล้า อย่าไปฟัง จิตใจเรา(mind) ให้มากนัก มันอาจจะโกหกเราก็ได้ครับ ให้ระวังไว้ด้วย
การฝึกหนักๆยิ่งอายุยิ่งเยอะการฟื้นตัวก็จะยิ่งช้าตามไปด้วยนะครับ ดังนั้นเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราฝึกซ้อมมากเกินไป มีหลักในการสังเกตุดังนี้ครับ
- อัตราการเต้นของชีพจรขณะพัก (resting heartrate)เพิ่มขึ้นขณะท่านตื่นนอนใหม่ๆ แนะนำให้ทุกท่านจับการเต้นของชีพจรตัวเองตอนตื่นใหม่ๆ วีธีคือ พอเราตื่นขึ้นมายังไม่ต้องลุกจากที่นอนครับ ให้ทำการจับชีพจรของก่อนเลยว่าเต้นกี่ครั้งต่อนาที จับที่ข้อมือ สัก 30 วินาทีแล้วคูณด้วย 2 ก็ได้ ถ้าหากวัดแล้วอัตราการ เต้นของชีพจรของเพิ่มขึ้นเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราการเต้นของชีพจรขณะพักตามปรกติในแต่ละวันแล้วละก็แสดงว่าเราเริ่มมีความเสี่ยงต่อการ ฝึกซ้อมหนักเกินไป หรือ "Overtraining"แล้วละครั
- เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ล้า มากกว่าปกติ พักตามปกติแล้วก็ยังไม่ยอมหาย และอาจปวดหัว อ่อนเพลีย ท้องเสีย เบื่ออาหาร บางครั้งถึงกับไข้ขึ้นทีเดียว
- สภาพทางอารมณ์จะแปรปรวนได้ง่ายโดยไร้สาเหตุ หรือมีอาการหงุดหงิดได้ง่าย เหมือนเมนจะมายังไงยังงั้น รู้สึกหดหู่และเบื่อการฝึกซ้อมจักรยาน ข้อนี้หลายๆคนคงเคยเป็นนะครับ อยู่ดีๆ ก็เบื่อการขี่จักรยานขึ้นมาเฉยๆ โดยไม่รู้สาเหตุ ปกติถ้าไม่ได้ออกไปปั่นจะหงุดหงิดเป็นอย่างมาก แต่อาการที่ว่าจะตรงกันข้ามทีเดียว คือแทบจะไม่อยากจับ อยากมองจักรยานแสนรักเลยด้วยซ้ำ
สรุปแล้วการฝึกซ้อมจักรยานหนักเกินไปหรือที่เรียกว่า "Overtraining" หมายถึงความเหนื่อยล้าเป็นเวลานานและซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพและความแข็ง แกร่งของร่างกายลดลงแม้จะมีการฝึกซ้อมจักรยานเพิ่ม ขึ้น ผลของมันจะรวมถึงความเสียหายของกล้ามเนื้อ ,การตอบสนองระยะเฉียบพลัน, โภชนาการที่ไม่เหมาะสมรบกวนอารมณ์ และผลการตอบสนองความหลากหลายของฮอร์โมนความเครียด และถ้าหากเราตกอยู่ในอาการของการฝึกซ้อมหนักเกินไปแล้วละก็เราต้องใช้เวลา ในการรักษาอาการนี้เป็นเวลานานเลยครับ โดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาน 2 สัปดาห์ขึ้นไปถึงเป็นเดือน เลยละครับโดยในระหว่างการพักให้ร่างกายฟื้นกลับมาเหมือนเดิมนั้นเราจะไม่สามารถออกไปขี่จักรยานซ้อม ได้เลยครับ จะเห็นได้ว่าผลของมันนั้นร้ายแรงกว่าที่เราคิดไว้เยอะครับ ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดการฝึกซ้อมหนักเกินไป หรือ"Overtraining"นั่นเองครับ ...เพลาๆลงบ้างนะเพื่อนนะ สงสารร่างกายตัวเองบ้าง ให้เหลือไว้ใช้ยามแก่ให้นานๆหน่อย จะได้ไม่เป็นภาระลูกๆหลานๆครับ
เครดิต พิชิตชน สุนทรวร เป้ มหาชัย กลุ่ม 100 Rpm Room
-
Hits28324 views
-
Tags