- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- แนวทางการฝึกซ้อมสำหรับการปั่นจักรยานขึ้นดอยอินทนนท์ ใน 4 เดือน
แนวทางการฝึกซ้อมสำหรับการปั่นจักรยานขึ้นดอยอินทนนท์ ใน 4 เดือน
ท่านที่กำลังมุ่งพิชิต...ดอยอินทนนท์ จุดสูงสุดแห่งแดนสยาม...ด้วยจักรยาน ต้องฝึกและซ้อม ผมมีแนวทางการฝึกซ้อมสำหรับการขึ้นดอยอินทนนท์ ใน 4 เดือน หร้อมสูตรเครื่องดื่มเกลือแร่และให้พลังงานระหว่างทาง
ตารางฝึกซ้อม เดือนแรก
วัน | กิจกรรม |
---|---|
จันทร์ | พักผ่อนหาอย่างอื่นทำ |
อังคาร | มือใหม่ ps มือเก่า tempo 75%>80% ตามความสามารถ 45 นาทีไม่รวมวอร์ม คูลดาวน์ |
พุธ | แอนดูแรนซ์ 120 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 65-75% อย่างละ 1 นาที แล้วกลับไปเริ่มใหม่ |
พฤหัส | pt + ps |
ศุกร์ | พักผ่อนหาอย่างอื่นทำ |
เสาร์ | แอนดูแรนซ์ 120 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 65-75% |
อาทิตย์ | แอนดูแรนซ์ 180 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 65-70% |
*pt (pedaling technique) เป็นการฝึกสร้าง ประสิทธิภาพ efficiency เกี่ยวกับการควงขา *ps ( pesdling strength ) เป็นการสร้างความแข็งแรงขอกล้ามเนื้อจักรยานโดยตรง
ตารางฝึกซ้อมเดือนที่สอง
วัน | กิจกรรม |
---|---|
จันทร์ | พักผ่อนหาอย่างอื่นทำ |
อังคาร | tempo มือใหม่ 75% มือเก่า 80% นาน 1 ชม.ไม่รวม วอร์ม คูลดาวน์ |
พุธ | แอนดูแรนซ์ 150 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 65-75% |
พฤหัส | ps เพิ่ม interval อีก สองเซ็ท เป็น หกเซท |
ศุกร์ | พักผ่อนหาอย่างอื่นทำ |
เสาร์ | แอนดูแรนซ์ 150 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 65-75% |
อาทิตย์ | แอนดูแรนซ์ 210 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 65-70% |
Interval Training ซ้อมออกกำลังด้วยความหนักหน่วงเป็นระยะเวลาสั้นๆ แล้วพักก่อนที่จะทำเซ็ตต่อไปซ้ำๆ กัน
ตารางฝึกซ้อมเดือนที่สาม
วัน | กิจกรรม |
---|---|
จันทร์ | พักผ่อนหาอย่างอื่นทำ |
อังคาร | Lactate threshold |
พุธ | แอนดูแรนซ์ 120 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 60-70% |
พฤหัส | แอนดูแรนซ์ 120 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 65-75% |
ศุกร์ | พักผ่อนหาอย่างอื่นทำ |
เสาร์ | ซ้อมขึ้นเขาจริงโปรแกรม climb หรือแอนดูแรนซ์ 150 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 60-75% |
อาทิตย์ | เหมือนวันเสาร์ ** คือต้องเลือกเอานะ ถ้าวันเสาร์ขึ้นเขา อาทิตย์ก็ไม่ต้องขึ้นหรือกลับกัน คือต้องขึ้นเขา หรือโปรแกรม climbing |
ตารางฝึกซ้อมเดือนที่สี่
วัน | กิจกรรม |
---|---|
จันทร์ | พักผ่อนหาอย่างอื่นทำ |
อังคาร | โปรแกรมขึ้นเขา climbing หรือขึ้นเขาจริง |
พุธ | แอนดูแรนซ์ 120 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 60-75% |
พฤหัส | Lactate threshold |
ศุกร์ | พักผ่อนหาอย่างอื่นทำ |
เสาร์ | ขึ้นเขาหรือโปรแกรม climbing หรือแอนดูแรนซ์ 150 นาที รอบขา 90-100 ชีพจร 60-75% |
อาทิตย์ | เหมือนวันเสาร์ |
+ สัปดาห์สุดท้ายก่อนแข่ง ปั่นแอนดูแรนซ์ อย่างเดียว ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ พักให้มากๆเข้าไว้
โปรแกรมฝึกที่ให้ไว้เป็นแค่แนวทางกลางๆนะครับ อาจนำไปดัดเแปลงให้เหมาะสมกับตัวเองได้ เพราะคงไม่มีใครสามารถทำตามได้แบบเป๊ะหรอกครับ ทั้งความฟิตที่แตกต่างกัน วันเวลา หรือสถานที่ฝึกที่ไม่เหมือนกัน แต่อย่างน้อยในแต่ละเดือนควรต้องฝึกขึ้นเขาจริงให้ได้บ้างนะครับ
*ช่วงฝึกหนักๆควรพักผ่อนให้เพียงพอ อาหารต้องถึงนะครับ เลิกการคิดลดน้ำหนักออกไปชั่วคราวก่อน เพราะทานน้อยไม่มีแรงฝึกแน่ๆครับ
* โปรแกรมฝึกปั่นจักรยานขึ้นเขา climbing สำหรับคนที่ไม่มีเขาให้ฝึกขึ้น
กิจกรรม | intensity | cadence |
---|---|---|
Warm up 5 min | low | 90 |
warm sprint 30 sec | high | 100 |
recovery 1 min | low | 85 |
warm sprint 30 sec | high | 100 |
recovery 1 min | low | 85 |
Muscle tension 5 min | medium | 55 |
recovery 5 min | low | 90 |
Muscle tension 5 min | medium | 55 |
recovery 5 min | low | 90 |
Climbing repeat 10 min | medium-high | 80-85 |
recovery 5 min | low | 90 |
Climbing repeat(stand) 1 min | high | 60 |
Climbing repeat(seat) 1 min | high | 90 |
Climbing repeat(stand) 1 min | high | 60 |
Climbing repeat(seat) 1 min | high | 90 |
Climbing repeat(stand) 1 min | high | 60 |
Climbing repeat(seat) 1 min | high | 90 |
Climbing repeat(stand) 1 min | high | 60 |
Climbing repeat(seat) 1 min | high | 90 |
Climbing repeat(stand) 1 min | high | 60 |
Climbing repeat(seat) 1 min | high | 90 |
Cool down 10 min | low | 90 |
โภชนาการเฉพาะกิจสำหรับอินทนนท์นั้น ควรต้องเตรียมการณ์อย่างไร ถึงจะดี สำหรับเช้าก่อนไต่อินททนนท์
- นมสดอุ่นๆ( non fat / low fat ) 1 ชาม ผสมข้าวโอ๊ตตรา..ตาแป๊ะ..กระป๋องสีแดงเพราะมันสุกมาในกระป๋องแล้ว (เน้นสีแดงอย่าเอารุ่นสีน้ำเงินนะครับ..ต้องต้ม) ปริมาณตามที่กำหนดข้างกระป๋องต่อ 1 มื้อ(ปรับความข้น/ใสตามชอบใจ แต่หนืดไว้ก่อนดีกว่า)
- เติมน้ำตาลทราย ให้ได้ความหวานที่ 6-8 %
- เติมเกลือสัก 1/4 -1/2 ช้อนชา
แค่นี้ก็ได้อาหารเช้าที่ให้พลังงานต่อเนื่องได้ยาวนานจาก คาร์โบไฮเดรทโมเลกุลยาวชนิดที่ละลายน้ำได้ของข้าวโอ๊ต เสริมด้วยน้ำตาลที่ให้พลังงานทันที และเกลือ
หมายเหตุ...สูตรนี้ถ้าผมจำไม่คลาดเคลื่อนเป็นของ Lance สมัยรุ่งๆ(ไม่ใช่รุงริ่งเพราะติดโด๊บเช่นในปัจจุบัน )
สูตรเครื่องดื่มเกลือแร่และให้พลังงานระหว่างทาง
- ผงเกลือแร่(ORS) ยี่ห้อ Oreda ซองใหญ่ รสชาดดีที่สุดเท่าที่ผมทดลองภาคสนามกับเพื่อนๆที่โคราช(บริษัทคำนวนไว้ใช้กับขวดแม่โขง 750 มล.) มีกลูโค้ส 10 กรัมร่วมกับเกลือแร่ที่จำเป็นเมื่อเสียน้ำ
- ถ้าต้องการพลังงานฉับพลัน ตวงผงกลูโค้สยี่ห้อ กลูโคลิน(ซื้อได้ตามรานขายยาราคากระป๋อง 400 กรัมละ 55.00 บาท) 5 ช้อน(ปาดเสมอขอบช้อน)ที่ใช้ตวงยาน้ำในเด็กเล็กขนาด 5 มล.ที่ทุกบ้านน่าจะมีจะได้ที่น้ำหนัก 17 กรัม
- เติมด้วยน้ำตาลทรายซองขนาด 8 กรัม อีก 2 ซอง(.ใกล้ Makro ก็ยี่ห้อ aro / ใกล้ห้างก็ยี่ห้อ Orchids )
จาก 1+2+3 สูตรนี้ก็จะได้ค่าน้ำตาล 2 ชนิดที่ความเข้มข้น 6 % ตามกำหนดที่โภชนาการแนะนำอยู่ในพิสัย 6-8% (จางไปก็ไม่ได้เรื่อง ข้นเกินไปก็เกิดการดูดซึมน้ำย้อนกลับ reverse-osmosis เข้าทางเดินอาหารแทนที่จะถูกดูดซึมออกไปเพื่อใช้งาน)
หากลูโคลินไม่ได้/ไม่ทัน แทนด้วยน้ำตาลซองนั่นแหละครับ
ที่เสนอน้ำตาลซองขนาด 8 กรัมเพราะคำนวนลงตัวพอดีเผื่อบางท่านไม่มีตาชั่งและลดความยุ่งยากของการชั่ง ตวง วัดครับ
เท่าที่ผมเคยทำให้ทีม ผมจะผสมทั้งหมดในซองยาเดียวกัน คำนวนชั่วโมงละขวด พกติดหลังของใครของเขาฉีกเทเข้าขวดน้ำได้เลย จากการทดลองภาคสนามระยะทาง 140 กม.ผลออกมา...ดีถึงดีมากครับ
ต้นทุนตกที่ประมาณ 11 บาทต่อ 600-700 มล.ครับ ถูกกว่ายี่ห้อที่บรรจุขวดขายทั้งไทย/เทศมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยี่ห้อไทยๆทั้งหมดลองอ่านฉลากข้างขวด แล้วดูที่เปอร์เซ็นต์น้ำตาลทุกยี่ห้อ ...หวานเกิน...เคยสังเกตไหมครับที่ยิ่งดื่มยิ่งเหนียว/คอแห้ง/กระหายน้ำตามมาอีก ก็ด้วยเหตุนี้แล
หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่กำลังมุ่งพิชิต...ดอยอินทนนท์ จุดสูงสุดแห่งแดนสยาม...ด้วยจักรยาน ที่ครั้งหนึ่งนานมากแล้ว(พ.ศ. 2518)ที่ผองเพื่อน พี่ๆน้องๆมหิดลกลุ่มหนึ่งรวมทั้งตัวผม ใช้เส้นทางเดินป่าอ้อมตีตัดหลังขึ้นไปประท้วงการสร้างเรดาห์ทางการทหารในสมัยสงครามเย็นใกล้จะสิ้นสุดก่อนที่เราจะประท้วงทั้งประเทศให้อเมริกาถอนฐานทัพทั้งหมดออกจากราชอาณาจักรไทย โดยที่อีกกลุ่มหนึ่งทำทีเป็นใช้เส้นทางที่ทุกท่านกำลังจะพิชิตกันอยู่นี่แหละเป็นเส้นลวง(แต่สมัยนั้นเป็นถนนดินแดงลุกรังบดอัดครับ)
..เครื่องดื่มเกลือแร่และพลังงาน...จากบทวิจัยล่าสุดที่อ่านเจอผู้ทำวิจัยเสนอว่าควรดื่มเมื่อ 5 นาทีล่วงแล้วหลังจากออกจากเส้นปล่อยตัว...เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายรับรู้ว่ามีการให้พลังงานจากภายนอก ร่างกายจะสำรองการเผาพลังงานภายในไว้เป็น ...ก็อกสอง... เมื่อเรียกใช้ครับ
**เส้นทางขึ้นดอยอินทนนท์นั้น จะมีจุดที่เรียกกันว่า "เนินวัดใจ" ซึ่งจะเป็นทางชันลาดยาวประมาณ 300 เมตร อยู่หลังจากผ่านด่านแรกไปได้ไม่นาน เอาเป็นว่า ถ้าไม่สามารถปั่นให้ผ่านเนินนี้ได้ เส้นทางข้างหน้าคงจะต้องลงจูงเป็นแน่แท้ครับ , หลังจากผ่านเนินวัดใจไปแล้ว จะไปชันลาดยาวอีกทีราวๆ10กม. แถวๆ น้ำตกวชิระธาร ถัดจากตรงนี้ไปก็จะขึ้นแบบซึมๆ พอให้เมื่อยกันได้อยู่ จนกระทั่งถึงที่ทำการอุทยาน จากนั้นอีก 16 กม. สุดท้าย คือของจริง เริ่มต้นด้วยขึ้นทางลาดยาวแบบขึ้นเรื่อยๆ 3 กม. ครับ แล้วก็จะขึ้นแบบซึมหนักๆ จุดที่เป็นHighlight สูงสุดคือ บริเวณพับโค้งก่อนถึงองค์พระธาตุ ชันมากๆอาจต้องสับฟันปลาถ้าไม่อยากลงเข็น เพราะชันจริงๆ ต้องนั่งปั่นสลับบการยืนโยกขึ้นไปจึงจะรอด
ผ่านตรงนี้ไปแล้ว ก็จะขึ้นชันแบบยาวๆตรงช่วงที่จะผ่านเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ จนไปถึง กม.สุดท้าย เส้นทางก็จะเปลี่ยนมาเป็นทางราบ และไหลลงนิดหนึ่งแล้วขึ้นสู่ยอดดอย
เตรียมโมอุปกรณ์ในรถเราให้พร้อม
จานหน้า ควรเป็น compact นะครับ จานใหญ่ 50 จานเล็ก 34 หรือ 3 ใบจานไปเลยแบบทัวร์ริ่ง เอาอยู่ครับ
เฟืองหลัง ควรเป็น 11-28 หรือมีใบเฟืองใหญ่ที่ฟันมากกว่า 28 ขึ้นไปนะครับ
ระบบเบรค เกียร์ ตรวจสอบให้ดี ยางนอกยางในถ้าเก่าแล้วก็เปลี่ยนซะ น้ำ อาหารเพิ่มพลังเตรียมไปให้พร้อมครับ ไม่ต้องห่วงเรื่องน้ำหนักมากนัก
หลักการขึ้นดอย แบ่งเป็น
- เป้าหมายแค่ ถึงยอดดอย ข้อนี้แค่ไปให้ถึงก็พอ เวลาไม่สนใจ แบบนี้ง่ายๆครับ ปั่นไปเรื่อยๆเหนื่อยก็พัก หายเหนื่อยแล้วปั่นต่อ แต่ก็ต้องฝึกซ้อมมาดีพอนะครับ ไม่งั้นก็ไม่รอด
- เป้าหมายไปถึงยอดดอย แบบขาไม่แตะพื้น ข้อนี้ยากนะครับ มือใหม่อาจจะไม่ไหว แต่คนที่เคยผ่านการขึ้นดอยมาแล้ว มีโอกาสสูงมากที่จะทำได้ แต่ต้องฝึกซ้อมมาอย่างดี หนักพอควร ที่สำคัญต้องรู้เหลี่ยมรู้มุม เป็นอย่างดี รู้จักการเฉลี่ยแรง จุดไหนควรหนัก จุดไหนควรผ่อน และต้องปั่นแบบคุมชีพจรครับ ตามที่เราฝึกมา อย่าปล่อยให้ชีพจรแช่อยู่ในโซนที่สูงเป็นเวลานานเด็ดขาด เพราะมีโอกาสลงเข็นแน่ คืออย่าให้ชีพจรขึ้นไปแช่ใน red line zone เป็นอันขาด พอชีพจรขึ้นไปให้รีบเบาความหนักทันที และพยายามปั่นไปตามจังหวะของเรา รอบขาที่เราถนัด อย่าตามคนที่แข็งกว่าเรา (ทิ้งศักด์ศรีไว้ที่ตีนเขาก่อนขึ้นด้วยนะครับ)การขึ้นเขา จะไม่ใช้รอบขาใดรอบขาหนึ่ง ยืนพื้นนะครับ รอบขาจะปรับเพิ่มลดตามความชันของเขา ซึ่งรอบขาที่ใช้อาจจะไม่ถึง 10 รอบ ยันไปถึง 80 รอบก็เป็นได้ รอบขาที่เหมาะสมจะไม่มีต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานะการ์ณ์ เน้นคุมความหนักให้ดี และพยายามใช้รอบขาให้เหมาะสมกับความชันและเป็นรอบขาที่เราเหนื่อยน้อยที่สุดแต่สามารถขึ้นไปได้เรื่อยๆ และต้องรู้จักการสลับกล้ามเนื้อนั่งปั่นและยืนปั่นด้วยนะครับ เดี๋ยวน้าเอาเทคนิคการขึ้นเขามาลงเพิ่มให้
- เป้าหมายแข่งขันอันนี้จะไม่กล่าวถึงนะครับ
เครดิต พิชิตชน สุนทรวร เป้ มหาชัย
-
Hits83525 views
-
Tags