Rider.in.th กิจกรรมปั่นจักรยานและข่าวสารชาวจักรยาน

  • หน้าแรก
  • ข่าวชาวจักรยาน
    • เปิดตัวจักรยานใหม่
    • Gadget จักรยาน
  • ปฏิทินกิจกรรม
    • ปฏิทินกิจกรรมปั่นจักรยาน
    • ปฏิทินงานจักรยาน
    • ส่งข้อมูลงานปั่นจักรยาน
  • ปั่นไป ยิ้มไป
  • รีวิว แนะนำ เส้นทางปั่น
    • เส้นทาง
  • นานาสาระ
  • รวมวีดีโอ ดีๆ
  • ค้นหาจักรยานหาย
 Rider.in.th กิจกรรมปั่นจักรยานและข่าวสารชาวจักรยาน
  • ส่งข้อมูลงานปั่นจักรยาน
  • ค้นหา
  • แจ้งจักรยานหาย
  • ติดต่อเรา
  • Sitemap
  • หน้าแรก
  • บทความ สาระ
  • การยืนปั่นขั้นพื้นฐาน สำหรับนักจักรยาน

การยืนปั่นขั้นพื้นฐาน สำหรับนักจักรยาน

Created
วันพฤหัสบดี, 03 กันยายน 2558

l standing spinning

การวางท่าทางการปั่นตามปกติเราทุกคนมักจะมองภาพถึงการนั่งบนอานจักรยาน มือกำแฮนด์และขากดลงลูกบันได ภาษาชาวบ้านมักเรียกกันว่า "ถีบจักรยาน" ซึ่งไม่ผิดเลย แต่เพื่อนๆในห้อง 100 rpm นี้ ใครยังเรียกการปั่นว่า ถีบ จักรยานนี่มีโกรธกันเลยทีเดียวถ้าอยู่ใกล้น่านี่ถึงโดนฟาดทันที

จุดสัมผัสในการนั่งปั่นปั่นหลักๆมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือน้ำหนักลงที่มือทั้งสองข้าง ที่ก้นและที่ลูกบันไดโดยเท้าทั้งสองข้างออกแรงกดลงไปนั่นเอง แต่ถ้าเป็นการยืนปั่นจุดรับน้ำหนักของเราจะเหลือสองตำแหน่งทันที แล้วอะไรจะเกิดขึ้นล่ะ 555 ก็เมื่อยและเหนื่อยเร็วขึ้นกว่าปกตินั่นเอง อ้าวแล้วถ้าเหนื่อยแล้วจะยืนปั่นหาพระแสงอะไรล่ะ ถ้าเป็นมือใหม่ซิงๆก็คงตอบว่า ไม่รู้ซิ ข้ายืนไม่เป็น ยืนแล้วรถจะคว่ำอย่างเดียวเลย

ครับการยืนปั่นย่อมต้องมีสาเหตุในการยืนปั่น ถ้าไม่มีประโยชน์จะยืนไปทำไม แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าจะยืน เพื่อนพึงระวังไว้นะครับว่า การยืนปั่นใช้พลังงานมากกว่านั่งปั่นถึง 30-40 % เลยทีเดียว นั่นหมายความว่าถ้าเรายืนปั่น เราจะยืนได้ไม่นานแล้วขาก็จะล้า บางคนถึงรถคว่ำก่อนหมดแรงด้วยซ้ำ เพราะยืนปั่นไม่ถูกวิธี ยืนปั่นไม่เป็น และขอเตือนเพื่อนที่ยืนปั่นเป็นแล้ว ว่า show off ให้มากนักเดี๋ยวจะหมดแรงลงไปเก็บเห็ดข้างทางเสียก่อนถึงที่หมาย

วัตถุประสงค์ของการยืนปั่นมีอยู่ 3 ข้อ คือ

  1. เราใช้การยืนปั่นในการเร่งความเร็วสูงๆหรือสูงสุด เช่น กรณีเร่งแซงหรือสปริ๊นแข่งกันปั่นเข้าเส้นชัยนั่นเอง
  2. ยืนปั่นเพื่อเป็นการเพิ่มพลังในการขับเคลื่อนให้มีสูงสุดเมื่อต้องการใช้งาน ส่วนในการฝึกซ้อมการยืนปั่นยังเป็นการวัดความอดทนของร่างกายว่าจะสามารถทนสภาวะทำงานหนัก ๆ ได้นานแค่ไหนอีกด้วย เรียกได้ว่าถ้าฝึกยืนปั่นอยู่บ่อย ๆ ก็จะเป็นหนทางในการฝึกฝนความแข็งแรงในกล้ามเนื้ออย่างหนึ่ง 
  3. ยืนปั่นเพื่อเป็นการผ่อนคลายจากการกดทับที่ก้นเรานั่งทับอยู่บนอานมานานๆ การยืนปั่นเป็นวิธีที่ช่วยได้มากๆ ทำให้ผ่อนคลายและบรรเทาอาการเมื่อยและเจ็บก้นได้เป็นอย่างดี ยืนสักระยะนึงไม่นานนักก็ค่อยลงนั่งปั่นเหมือนเดิม หลังจากนั้นก็ยืนเป็นระยะๆเมื่อรู้สึกเมื่อย จะช่วยให้เราปั่นจักรยานได้นานและทนทานยิ่งขึ้น

แล้วการยืนปั่นมีเทคนิคอย่างไร ถ้าน้าไม่ตอบไว้ในที่นี้ก็ต้องโดนถามไปอีกหลายวันทีเดียว

พื้นฐานของการยืนปั่นมีดังนี้คือ การทรงตัวบนจักรยานโดยไม่นั่งบนเบาะและการรู้จักใช้เกียร์ จากที่เคยกล่าวไว้ว่าการยืนปั่นเป็นการใช้พลังงานมาก ช่วยให้การขี่มีอัตราเร่งดี ดังนั้นก่อนที่จะทำการขึ้นยืนปั่นผู้ขี่จะต้องเปลี่ยนเกียร์ไปอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ที่หนักกว่า (มีอัตราการทดมากกว่า) เกียร์ปัจจุบันนิดหน่อย เพราะว่าการยืนปั่นเป็นการใช้พลังงานสูงมาก หากไม่มีการเปลี่ยนไปใช้เกียร์ที่มีอัตราการทดที่มากกว่า ก็จะทำให้การเร่งของรถไม่สูงเท่าที่ควร กล่าวคือรถพุ่งตัวเร็วขึ้นนิดเดียวแล้วความเร็วก็หยุด ทำให้ความเร็วที่เพิ่มขึ้นไม่พอที่จะแซงให้พ้น หรือเราอาจจะฟรีขาทิ้งเปล่า ซึ่งกรณีที่เปลี่ยนเกียร์หนักก่อนยืนปั่นนี้จะใช้ในการเร่งความเร็ว ส่วนในกรณีที่ต้องการใช้พลังงานสุงสุดในการขับเคลื่อนแบบทันทีทันใด อาจไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ให้หนักขึ้น เช่นการปั่นขึ้นเนิน ขึ้นเขา

ส่วนพื้นฐานการทรงตัวบนจักรยานโดยไม่นั่งบนเบาะ ท่านสามารถฝึกด้วยตัวเองได้โดยการปั่นด้วยความเร็วระดับหนึ่งแล้วปล่อยให้รถไหลจากนั้นให้จัดตำแหน่งบันไดจักรยานให้ขนานพื้นให้เท้าด้านที่ถนัดอยู่ข้างหลัง จากนั้นจึงค่อย ๆ เหยียบบันไดทั้งสองข้าง ยกก้นขึ้นมาเหนือเบาจนขาทั้งสองข้างตึง แล้วทรงตัวบนรถปล่อยให้รถไหลไปเรื่อย ๆ จนแรงส่งใกล้จะหมดจึงนั่งลงปั่นต่อ

ฝึกยืนยกก้นบนบันไดในตำแหน่งบันไดขนานพื้นจนคล่องก่อน จากนั้นก็มาฝึกขั้นต่อไปก็คือการยืนปั่นพร้อมกับโยกรถไปพร้อมกัน ซึ่งการฝึกขั้นนี้ก็มีพื้นฐานมาจากการฝึกในขั้นที่แล้ว กล่าวคือต้องทำการปั่นแล้วยืนบนบันไดให้รถไหลไปก่อน จากนั้นจึงทำการยืนปั่นโดยเวลาที่กดขาซ้ายลงก็ให้ใช้แขนดึงตัวรถไปด้านขวา ส่วนเวลาที่กดขาขวาลงก็ให้ใช้แขนดึงตัวรถไปด้านซ้าย ซึ่งขาที่ปั่นกับทิศทางการดึงตัวรถจะตรงกันข้ามอยู่เสมอ

กล่าวคือใช้ขาซ้ายปั่นก็จะต้องดึงตัวรถไปด้านขวา และเวลาใช้ขาขวาปั่นก็จะต้องดึงตัวรถไปด้านซ้าย เหตุที่ต้องทำแบบนี้ก็เพื่อรักษาสมดุลการทรงตัวของรถไม่ให้รถล้ม เวลาทำการฝึกให้ทำการฝึกทั้งการยืนบนรถโดยให้บันไดขนานพื้นก่อนแล้วจึงฝึกยืนปั่นตามทีหลัง ฝึกบ่อย ๆ จนคล่อง แล้วต่อไปการยืนปั่นจะกลายเป็นธรรมชาติของเราประเภทเห็นนมไม่ได้ เอ๋ย เห็นเนินไม่ได้ ต้องลุกขึ้นยืนโยกทุกครั้งไป

เทคนิคการยืนปั่นยังเป็นเทคนิคพื้นฐานที่ถูกนำไปใช้ในการแข่งขันเสือหมอบอยู่บ่อย ๆ เช่น เวลาที่นักแข่ง sprint เร่งเข้าเส้นชัย ซึ่งก็มีพื้นฐานมาจากการฝึกแบบนี้ก่อนที่จะไปฝึกเทคนิคขั้นสูงต่อไป 

ส่วนการยืนปั่นเพื่อเป็นการผ่อนคลาย เราไม่เน้นที่ความเร็วนะครับ เดียวจะกลายเป็นคายของเก่าออกแทน

 

 

เครดิต พิชิตชน สุนทรวร เป้ มหาชัย  กลุ่ม 100 Rpm Room

6 ข้อคิด ก่อนล็อคจักรยาน เพื่อป้องกันจักรยานสุดรักของเรา 120 / 159 การหาค่า Maximum Heart Rate (mhr)ด้วยตัวเอง
  • Voting
    Average rating
    4 votes
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • Hits
    82496 views
  • Tags
    100RPM Room | เทคนิคซ้อมปั่น

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

  • ใช้เกียร์จักรยานให้ถูก ขี่ง่ายไม่พังเร็ว
  • รู้ไหมทำไม ปั่นจักรยานแข็งแรงกว่าวิ่ง
  • ปั่นจักรยานช้าหรือปั่นเร็วอันไหนเผาผลาญไ...
  • การตั้งเกียร์จักรยาน คุณก็ทำเองได้
  • เทคนิคการซ้อมปั่นจักรยาน เพื่อพิชิต 100 ...
Facebook

TAGS CLOUD

  • หนังสือ
  • แนะนำทีม
  • เดินชมร้านจักรยาน
  • Bike for Mom
  • มือใหม่
  • เทคนิคซ้อมปั่น
  • gear
  • สุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ภาพยนตร์
  • ดูแลรักษาจักรยาน
  • เสือภูเขา
  • MTB
  • Mountain bike
  • ลดน้ำหนัก
  • จักรยานเสือหมอบ
  • 100RPM Room
  • หน้าแรก
  • ข่าวชาวจักรยาน
  • ปฏิทินกิจกรรม
  • ปั่นไป ยิ้มไป
  • รีวิว แนะนำ เส้นทางปั่น
  • นานาสาระ
  • รวมวีดีโอ ดีๆ
  • ค้นหาจักรยานหาย