Rider.in.th กิจกรรมปั่นจักรยานและข่าวสารชาวจักรยาน

  • หน้าแรก
  • ข่าวชาวจักรยาน
    • เปิดตัวจักรยานใหม่
    • Gadget จักรยาน
  • ปฏิทินกิจกรรม
    • ปฏิทินกิจกรรมปั่นจักรยาน
    • ปฏิทินงานจักรยาน
    • ส่งข้อมูลงานปั่นจักรยาน
  • ปั่นไป ยิ้มไป
  • รีวิว แนะนำ เส้นทางปั่น
    • เส้นทาง
  • นานาสาระ
  • รวมวีดีโอ ดีๆ
  • ค้นหาจักรยานหาย
 Rider.in.th กิจกรรมปั่นจักรยานและข่าวสารชาวจักรยาน
  • ส่งข้อมูลงานปั่นจักรยาน
  • ค้นหา
  • แจ้งจักรยานหาย
  • ติดต่อเรา
  • Sitemap
  • หน้าแรก
  • บทความ สาระ
  • เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค3 : การฝึกซ้อมด้วยการปั่นบนเทรนเนอร์

เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค3 : การฝึกซ้อมด้วยการปั่นบนเทรนเนอร์

Created
วันจันทร์, 19 กันยายน 2559

การฝึกซ้อมด้วยการปั่นบนเทรนเนอร์ เพื่อนควรจะเตรียมตัวอย่างไรบ้าง มาดูกันครับ

 diy how i made a trainer bike computeripadphone stand for 30

  1. กระบอกน้ำดื่ม ข้อนี้สำคัญมากครับ การปั่นจักรยานเราจะขาดน้ำไม่ได้เลย ยิ่งโดยเฉพาะการปั่นบนเทรนเนอร์ ที่ไม่มีสายลมมาช่วยซับเหงื่อ ทำให้เหงื่อออก ออกมากก็เสียน้ำมาก ดังนั้นเราต้องดื่มน้ำเข้าไปทดแทนและช่วยระบายความร้อนทุก 10 นาทีครับ เพื่อการปั่นที่มีประสิทธิภาพ
  2. พัดลม การฝึกซ้อมนิ่งๆบนจักรยานจะอยู่ในห้องหรือสถานที่ปิด ไม่ได้ปั่นฝ่ากระแสลมแบบบนถนนนที่สามารถช่วยระบายความร้อนได้ ดังนั้นเราต้องมีตัวช่วยด้วยการหาพัดลมมาเป่าด้านหน้า เอาแบบที่แรงๆหน่อยก็ดีครับจะช่วยระบายความร้อนได้ บางครั้งอาจจะต้องหาพัดลมตัวเล็กๆมาเป่ายางล้อหลังเพื่อระบายความร้อนเพื่อให้ยางเย็นลงอีกด้วย (แบบนักปั่นตีนระเบิดกดหนักจนยางแทบไหม้)
  3. ผ้าเช็ดเหงื่อ เลือกขนาดให้เหมาะสม ถ้าฝึกหนักก็อาจผืนใหญ่สักหน่อย รับรองว่า เหงื่อท่วมบ้านแน่ๆ ทางทีดีตอนปั่น เราควรวางผ้าบนเฟรมด้วยเพื่อป้องกันเหงื่อที่จะไหลไปยังตัวเฟรมได้ หรือซื้อที่กันเหงื่อสำเร็จรูปที่มีขายตามร้านจักรยานมาใช้ปกป้องเฟรมและอุปกรณ์ที่เรารักโดยตรงเลยก็ดีครับ
  4. ถาดรองรองหน้า อันนี้ก็สำคัญนะครับ ทำให้ตัวรถของเราอยู่ในระดับที่เหมือนกับการปั่นบนถนนและยังสามารถเลือกซื้อถาดรองล้อหน้า แบบที่สามารถปรับระดับสูงต่ำได้หลายระดับเลียนแบบการขึ้นเขาก็ยังได้ หรือถ้าเพื่อนหาถาดรองล้อหน้าไม่ได้ก็สามารถใช้สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองเล่มโตมาใช้แทนได้ ก็ไม่เลวเหมือนกันครับ
  5. ชุดเอนเตอร์เทรนต่าง ทีวีจอเล็ก จอใหญ่ต่างๆ ตั้งไว้ด้านหน้าเราเลย จะดูหนังฟังเพลงดูวีดิโอการแข่งขันจักรยานรายการโปรด ก็เป็นเครื่องช่วยแก้ความเบื่อหน่ายในการปั่นได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้เราสามารถอยู่บนจักรยานได้นานมากขึ้น เป็นตัวช่วยชั้นยอดได้เลยโดยที่เพื่อนบางคนอาจจะขาดไม่ได้เสียด้วย
  6. ดีที่สุด ถ้าจะมีคนรู้ใจอยู่ข้างๆคอยเสริฟน้ำ เสริฟเครื่องดื่ม เช็ดหน้าเช็ดตาเช็ดเหงื่อที่ไหลตามตัวตัวตามแขนของเรา หาผ้าเย็นมาให้ คอยให้กำลังใจ เป็นกองเชียร์น้อยๆน่ารัก จะทำให้เรามีกำลัง มีพลังในการปั่นเพิ่มมากขึ้น แทบไม่รู้จักความเหน็ดเหนื่อยอีกต่อไป สามารถฝึกโปรแกรมที่หนักสุดๆได้ แบบให้หมดแรงกันไปโดยที่ไม่ต้องกลัวล่วงหล่นลงมา เพราะข้างๆ มีคนพร้อมที่จะรอรับเพื่อนอยู่

.....และคำถามที่น้าถูกถามมามากที่สุดว่าจะเลือกเทรนเนอร์แบบไหนดี เป็นคำถามที่ไม่จบสิ้น มีคนถามมาได้ตลอด แต่ไม่ว่ากัน เพราะมือใหม่ๆขาใหม่จักรยาน ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เลยมีการถามซ้ำซากมาตลอด เลยเป็นเหตุผลให้น้าต้องมาต่อ ภาค3 ให้ครับ

เทรนเนอร์(Trainer) คืออุปกรณ์ช่วยในการฝึกซ้อมจักยรยาน เดิมถูกเรียกว่าอุปกรณ์สำหรับฝึกซ้อมจักรยานภายในอาคาร แต่ความจริงสามารถใช้ที่ไหนก็ได้ แม้แต่ในคอนโดที่พักอาศัย ระเบียงบ้าน ริมสวน หรือแม้กระทั่งสำนักงานที่ยังพอมีที่ว่างและมีความเป็นส่วนตัว เทรนเนอร์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นโดยเฉพาะประเทศที่หน้าหนาวมีหิมะตกจนออกซ้อมไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าในบ้านเราไม่ควรใช้เทรนเนอร์ บ้านเรามาโอกาสที่จะต้องใช้เทรนเนอร์มากมายหรืออาจจะมากกว่าสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่มีรถราติดขัด ออกซ้อมต่อเนื่องไม่ได้ไม่ว่าเวลาไหน หากเป็นหน้าฝนยิ่งอันตราย ไม่ใช่อันตรายจากถนนลื่นอย่างเดียว ยังอันตรายจากรถที่เสียการควบคุมซึ่งอาจเกิดขึ้นได้

เทรนเนอร์เป็นอุปกรณ์การซ้อมจักรยานที่มีคุณประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง สามารถใช้ได้สำหรับทำให้เกิดการซ้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อการขี่จักรยานอย่างสนุก ตามพรรคพวกได้ทันในวันหยุดสุดสัปดาห์ ในต่างประเทศนิยมใช้ประกอบการซ้อมทั่วไปเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเฉพาะทาง เช่นการซ้อมขึ้นเขาซึ่งหลายแห่งหาเขาแทบจะไม่ได้ การซ้อมสำหรับไทม์ไทรอัล (Time Trial) หรือแม้กระทั่งการซ้อมเพื่อพัฒนาความสามารถทางแอโรบิคของร่างกาย

ผู้ที่ต้องทนอยู่ในกรุงเทพหรือต้องอยู่กับบ้านทำอะไรไม่ได้ในช่วงที่ฝนตก อาจนึกถึงการฝึกซ้อมกับเทรนเนอร์พร้อมๆกับความคิดที่ว่า”มันน่าเบื่อ” แต่ใครจะรู้ว่าตอนที่เรานั่งจิบกาแฟหรือนอนหลับอุตุ เพื่อนของเราบางคนอาจกำลังฝึกซ้อมอยู่กับบ้าน รอเวลาที่จะร่วมกลุ่มกับเราในวันหยุดกับพัฒนาการที่ดีขึ้นจนเราตามไม่ทันก็เป็นไปได้ เทรนเนอร์สามารถให้สิ่งที่ดีกว่าที่คนอื่นพูดเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านพละกำลัง ความทนทานของกล้ามเนื้อ และทักษะของการใช้กำลังที่ดีขึ้น ไม่เพียงแต่มีประโยชน์กับจอมยุทธสุดสัปดาห์เท่านั้น จอมยุทธตัวจริงระดับมืออาชีพที่ติดอยู่ในเมืองใหญ่ หรือติดกับอยู่กับบ้านช่วงหน้าฝนก็สามารถ ฝึกฝนทักษะของการสปริ๊นท์ หรือการฝึกซ้อมแบบอินเทอวัล (Interval) ซึ่งค่อนข้างจะอันตรายหากทำกันบนถนนที่มีรถราแล่นอยู่

ในอดีตนักจักรยานระดับทีมชาติจะใช้เทรนเนอร์ที่เรียกกันว่าลูกกลิ้ง 3 ลูกช่วยในการฝึกซ้อม จนทุกวันนี้นักจักรยานจำนวนหนึ่งก็ยังพิสมัยที่จะใช้ลูกกลิ้งแบบนี้ นัยว่าให้ความรู้สึกที่คล้ายจริงมากที่สุด เพียงแต่ได้ทักษะของเรื่องรอบขากับสมาธิเท่านั้น หากเป็นการฝึกซ้อมชนิดอื่นอาจเกิดอันตรายได้เพราะ ล้อจักรยานที่ตั้งอยู่บนลูกกลิ้งโดยไม่มีอะไรจับยึด ค่อนข้างจะอันตราย เพียงแค่หันหน้าหรือเสียสมาธิเพียงวินาทีเดียวก็มีสิทธิ์กลิ้งได้ ช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านผู้ผลิตหลายรายจึงพยายามพัฒนาอุปกรณ์ที่จะมาแทนที่ลูกกลิ้ง ทำให้คนทั่วไปสามารถฝึกซ้อมจักรยานได้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นมืออาชีพที่มีความชำนาญ แม้แต่ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายอยู่กับบ้านก็สามารถฝึกซ้อมเองได้

...เทรนเนอร์หลายรุ่นหลายแบบ แบบที่นิยมมากที่สุดมี 2 แบบคือแบบที่สร้างแรงต้านด้วยแรงเหนี่ยวนำแม่เหล็ก (Magnetic) และแบบสร้างแรงต้านด้วยของเหลว (Fluid)

แบบแรงต้านเหนี่ยวนำแม่เหล็ก (Magnetic) 
มีจุดเด่นที่สามารถปรับความหนืดเป็นขั้นๆได้ ทำให้เทรนเนอร์ชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการฝึกการขึ้นเขา ฝึกซอยรอบขาสูง ฝึกสปริ๊นท์ หรือแม้กระทั่งฝึกไทม์ไทรอัล สามารถปรับความหนืดได้ตามความต้องการหรือเหมาะสมกับความแข็งแรง การปรับความหนืดของเทรนเนอร์ Minoura จะใช้วิธีปรับมุมของแม่เหล็กเพื่อให้เปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็ก เป็นระบบแบบง่ายๆ หากใช้กับยางหน้าเรียบแล้วเสียงจะค่อยมาก ค่ายยุโรปมีการพัฒนาเทรนเนอร์แบบแรงต้านเหนี่ยวนำโดยใช้กระแสไฟฟ้า ด้วยการปรับค่ากระแสไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็ก เทรนเนอร์เหล่านี้มักจะมีอุปกรณ์ช่วยวัดที่สามารถบอกความเร็ว รอบขา กำลังที่ใช้ (watt) รวมถึงการจับเวลา ในขณะที่บ้างแบรนด์สามารถตั้งโปรแกรมการซ้อมเองได้ 

 แบบแรงต้านจากของเหลว (Fluid) 
เป็นเทรนเนอร์ที่โปรค่อนข้างจะนิยมกันมาก มีความเงียบมาก เป็นเทรนเนอร์ที่เงียบมากเพราะแรงต้านได้จากชุดใบพัดที่อยู่ในกระเปาะที่บรรจุด้วยของเหลวประเภทน้ำมันความหนืดสูง ทำให้แรงต้านของเทรนเนอร์ชนิดนี้เพิ่มขึ้นตามอัตราความเร็วรอบขาที่เราปั่น ยิ่งรอบสูงความหนืดยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เทรนเนอร์ชนิดนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับตารางการฝึกที่ค่อนข้างใช้แรงต้านมากๆเข่น program strength training หรือการฝึกซ้อมอินเทอวัลที่ค่อนข้างหนักเพื่อรักษาระดับอัตราการเต้นหัวใจที่ค่อนข้างสูง เทรนเนอร์ประเภทนี้สามารถปรัยความหนืดเพิ่มแรงต้านได้สูงมากจนเราอาจไม่สามารถชนะมันได้

แบบสามลูกกลิ้ง มีลูกเหล็กกลมๆอยู่สามลูก หน้าหนึ่งและท้ายอีกสองลูกทำให้หมุนได้ด้วยสายพาน โดยิาศัยแรงจากการปั่น. การปั่นบนลูกกลิ้งทั้งสามเป็นอิสระ ปราศจากการยึดติดบนตัวจักรยาน ทำให้การปั่นใกล้เคียงกับการปั่นถนนจริงมากที่สุด แต่ผู้ปั่นบนเทรนเนอร์แบบนี้ อาจต้องมีทักษะทางด้านจักรยานในระดับนึง ไม่ง่ายนักที่มือใหม่จะสามารถปั่นได้ เพราะมีโอาสจะล่วงมาจากลูกกลิ้งตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ขาเก่า ถ้าเผลอก็มีสิทธิล่วงได้เหมือนกัน ประโยชน์ของการฝึกแบบนี้จะเน้นทางด้านการฝึกทักษะการทรงตัว ฝึกความเร็ว ฝึกรอบขา แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างในโปรแกรมการฝึกบางประเภทเช่น strength หรือ โปรแกรมที่เป็น techniqueบางอย่าง

แล้วแบบไหนจะดีที่สุดล่ะ น้าขอตอบว่าทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับเป้าหมายการฝึกของแต่ละคนครับ ว่าต้องการอะไร ไม่มีแบบไหนที่ดีที่สุด 

  • ต้องการเสริมทักษะการทรงตัว ปั่นเล่น หรือไว้วอร์ม ก็แบบสามลูกกลิ้ง
  • ต้องการฝึกแบบเข้าโปรแกรมที่ไม่หนักมาก ฝึกรอบขา ไว้วอร์มก่อนแข่ง หรือ ฝึกตามที่ตัวเทรนเนอร์สามารถกำหนดไว้ เช่น ปั่นบนทางเรียบ ปั่นขึ้นเขา ก็ปรับได้ตามที่ต้องการ แบบนี้ใช้ magnetic ก็ได้ แต่ถึงที่สุดแล้วบางรุ่นอาจจะไม่พอที่รับการฝึกที่หนักมากๆได้
  • ต้องการฝึกแบบที่ใช้แรงต้านและแรงหนืดสูงๆ ก็ต้อง แบบ fluid ครับ ปรับหนืดจนเราไม่สามารถชนะมันได้และแบบนี้จะมีความแข็งแรงและทนทานสูง ไม่ต้องซ่อมบำรุง และมักจะรับประกันตัวเครื่องตลอดชีพอีกด้วย แต่ของดีมักจะไม่ถูกครับ เป็นสัจจธรรม

....แต่ถึงที่สุดแล้ว เทรนเนอร์ก็ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายในการฝึกฝนนะครับ เพื่อนต้องไม่ลืมนะครับว่า กีฬาจักรยาน เป็นกีฬากลางแจ้ง ( out door) ดังนั้น เพื่อนควรนำจักรยานไปปั่นข้างนอกถึงจะถูกต้องนะครับ เทรนเนอร์เป็นเพียงอุปกรณ์ช่วยฝึกในยามที่เราไม่สามารถออกไปฝึกบนท้องถนนได้เท่านั้น

เครดิต พิชิตชน สุนทรวร เป้ มหาชัย  กลุ่ม 100 Rpm Room

เริ่มต้นหัดปั่นจักรยาน เริ่มต้นอย่างไรดี ตอนที่ 1 49 / 159 เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค 2 : ว่าด้วยเรื่องข้อดีและข้อด้อย
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค 2 : ว่าด้วยเรื่องข้อดีและข้อด ...
เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค 2 : ว่าด้...
เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค1 : ทำความรู้จักเทรนเนอร์ จักร ...
เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค1 : ทำความ...
  • Voting
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • Hits
    21687 views
  • Tags
    100RPM Room

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

  • ใช้เกียร์จักรยานให้ถูก ขี่ง่ายไม่พังเร็ว
  • รู้ไหมทำไม ปั่นจักรยานแข็งแรงกว่าวิ่ง
  • ปั่นจักรยานช้าหรือปั่นเร็วอันไหนเผาผลาญไ...
  • การตั้งเกียร์จักรยาน คุณก็ทำเองได้
  • เทคนิคการซ้อมปั่นจักรยาน เพื่อพิชิต 100 ...
Facebook

TAGS CLOUD

  • หนังสือ
  • แนะนำทีม
  • เดินชมร้านจักรยาน
  • Bike for Mom
  • มือใหม่
  • เทคนิคซ้อมปั่น
  • gear
  • สุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ภาพยนตร์
  • ดูแลรักษาจักรยาน
  • เสือภูเขา
  • MTB
  • Mountain bike
  • ลดน้ำหนัก
  • จักรยานเสือหมอบ
  • 100RPM Room
  • หน้าแรก
  • ข่าวชาวจักรยาน
  • ปฏิทินกิจกรรม
  • ปั่นไป ยิ้มไป
  • รีวิว แนะนำ เส้นทางปั่น
  • นานาสาระ
  • รวมวีดีโอ ดีๆ
  • ค้นหาจักรยานหาย