- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค1 : ทำความรู้จักเทรนเนอร์ จักรยาน
เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค1 : ทำความรู้จักเทรนเนอร์ จักรยาน
วันนี้มาเคลียร์กันให้กระจ่างแจ้งไปเลยว่าเราควรจะใช้เทรนเนอร์แบบไหน ระบบใดที่เหมาะแก่การฝึกซ้อม จะได้เข้าใจกันเสียทีครับ
Trainer หมายถึง อุปกรณ์ที่นำมาฝึกร่วมกับจักรยานส่วนตัวเพื่อเลียนแบบการออกแรงปั่นบนจักรยาน ซึ่งถ้าจะเรียกให้เหมาะสม ก็คือ indoor trainer ซึ่งวัตถุประสงค์ในการใช้เทรนเนอร์อาจแตกต่างกันไปแต่มีเป้าประสงค์เดียวกันทั้งสิ้น คือ เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ เสริมสร้างทักษะในการปั่น ซึ่งโดยมากเราจะนำไว้ใช้ทดแทนในยามที่เราไม่สามารถออกไปปั่นจักรยานภายนอกได้ เช่น หน้าฝน หรือหิมะตกสำหรับในต่างประเทศ หรืออาจไว้ใช้ฝึกซ้อมในบ้านในช่วงเวลาที่จำกัด สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาออกปั่นข้างนอก เป้นการรักษาสภาพความฟิตสำหรับผู้ฝึกได้ดี นอกจากนั้นสำหรับผู้ที่ไม่มีสถานที่ปั่่นภายนอกที่ปลอดภัย ก็ยังสามารถใช้ประโยชน์จากเทรนเนอร์ได้ดี ไม่ต้องห่วงเรื่องสภาพถนนที่แย่ มลพิษ จำนวนรถที่มากไม่ปลอดภัย และอันตรายอีกหลายอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ในสถานะการณ์ที่ไม่คาดคิด
แต่อย่างไรก็ตามให้เพื่อนๆคำนึงด้วยว่า เทรนเนอร์เป็นเพียงเครื่องมือช่วยในการฝึกซ้อมเท่านั้น ดังนั้นพวกเราเหล่า rider ทั้งหลายมีหน้าที่ในการพาเจ้าจักรยานสุดรัก ไปปั่นภายนอกบนถนนจริงเท่านั้นนะครับ
ทรนเนอร์ที่น้าจะกล่าวถึงในที่นี้จะเป็นเทรนเนอร์ที่นำมาประกอบกับจักรยานเพื่อไว้ใช้ในการฝึกซ้อมเท่านั้นนะครับ จะไม่กล่าวถึงเทรนเนอร์ที่เป็นจักรยานตามฟิตเนส
1.เทรนเนอร์แบบสามลูกกลิ้ง คือ เทรนเนอร์ในกลุ่มนี้จะจำลองการปั่นจริง โดยผู้ใช้จะต้องปรับระยะของลูกกลิ้งให้เหมาะสมกับระยะฐานล้อของจักรยาน ผู้ปั่นจะต้องยกจักรยานขึ้นไปวางบนเทรนเนอร์ หาที่พยุงตัวเองให้ขึ้นไปนั่งบนอาน หาที่พยุงให้จักรยานทรงตัวอยู่บนลูกกลิ้งในขณะที่เริ่มปั่นจนกระทั่งสามารถเลี้ยงตัวได้นิ่งแล้ว จึงปล่อยมือมาตั้งสติกับการปั่น
เทรนเนอร์แบบนี้จะได้ประโยชน์สำหรับการฝึกการทรงตัวสามารถปั่นได้นิ่งๆ บนที่แคบๆ และยังสร้างความแข็งแรงทางอ้อมให้แก่กล้ามเนื้อช่วงลำตัวโดยไม่ต้องปั่นจริง , เหมาะสำหรับทำactive recovery เพราะไม่สร้างloadให้แก่กล้ามเนื้อขามากมายอย่างที่ีคิด
ส่วนข้อเสียเทรนเนอร์แบบลูกกลิ้งโดยทั่วไปมักจะไม่มีอุปกรณ์สำหรับหน่วงหรือเพิ่มความหนักในการออกแรงปั่น และมีโอกาสที่จะล่วงลงมาบนพื้นได้ทุกเมื่อถ้าเสียสมาธิหรือผู้ที่ไม่ค่อยมีทักษะในการทรงตัว
2.เทรนเนอร์ที่ต้องนำจักรยานไปติดยึด ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ
แบบแรก เทรนเนอร์แบบสัมผัสกับขอบล้อบริเวณขอบเบรค สำหรับปัจจุบัน จะเป็นเทรนเนอร์ที่ีหาไม่ค่อยง่ายนักในเมืองไทย มันเหมาะสำหรับขอบล้อโลหะ ที่เป็นขอบ rim brake แบบที่สอง เทรนเนอร์แบบสัมผัสกับหน้ายาง : เป็นเทรนเนอร์ที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ในตลาดปัจจุบัน เทรนเนอร์จะถูกออกแบบโดยใช้ลูกกลิ้งโลหะที่สามารถปรับเพิ่มแรงกดบนหน้ายาง เพื่อสร้างความฝืดระหว่างหน้ายางกับผิวลูกกลิ้ง ยางจะได้ฉุดให้ลูกกลิ้งหมุนตามยาง ตัวลูกกลิ้งจะเชื่อมต่อกับตัว loader เพื่อสร้างความหนัก
ในการออกแรง และในแบบที่สองนี้ยังแยกออกได้เป็นสองระบบคือ
- ใช้แม่เหล็กเป็นตัวสร้างความต้านทานในการหมุน loader ชนิดนี้มีความหลากหลายมาก และมีคุณภาพแตกต่างกันได้มากมาย อาจจะพบในเทรนเนอร์ระดับเริ่มต้น หรือ พบได้ในเทรนเนอร์ระดับสูง หลักการอาจจะง่ายๆเพียงแค่ใช้หลักการดูดและผลักของขั้วแม่เหล็ก
- ระบบ Fluid โดยหลักการแล้ว จะอาศัยการหมุนของกังหันหรือใบพัดที่แช่อยู่ในของเหลวที่มีความหนืด ( viscous fluid ) เป็นกลไกหลักๆในการสร้างความต้านทานต่อการหมุน
- ระบบกังหันลม โดยหลักการจะคล้ายกับระบบที่2 แต่ใช้กังหันลมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแทนกังหันขนาดเล็กที่แช่ในของเหลว
หมดเวลาครับ เดี๋ยวมาต่อภาคสอง ถึงข้อดีและข้อด้อยของแต่ละรุ่น ว่าเราควรจะเลือกซื้อแบบไหนมาใช้กันดีนะครับ
เครดิต พิชิตชน สุนทรวร เป้ มหาชัย กลุ่ม 100 Rpm Room