- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค 2 : ว่าด้วยเรื่องข้อดีและข้อด้อย
เรื่องของเทรนเนอร์ จักรยาน ภาค 2 : ว่าด้วยเรื่องข้อดีและข้อด้อย
...มาต่อกันครับ ก่อนที่จะสรุปกันว่าเราควรจะเลือกซื้อเทรนเนอร์รุ่นและแบบไหนมาใช้ประจำการในบ้านเรา มาดูข้อเด่น ข้อด้อยของแต่ละรุ่นกัน
1.เทรนเนอร์แบบสามลูกกลิ้ง
ข้อดี ไม่ต้องนำจักรยานมายึดติดกับเทรนเนอร์ ทำให้เป็นอิสระไม่ยุ่งยาก ตัวเฟรมไม่มีผลกระทบด้านความเสียหาย ลักษณะการปั่นใกล้เคียงกับถนนจริงและที่สำคัญสามารถฝึกทักษะการทรงตัวบนจักรยานได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปใช้เวลาวอร์มก่อนปั่นจริงได้สบายๆช่วยให้ขาไม่ล้ามากจนเกินไป
ข้อด้อย ไม่มีอุปกรณ์สำหรับหน่วงหรือเพิ่มความหนักในการออกแรงปั่น อีกทั้งไม่ใช่เรื่องง่ายที่มือใหม่จะนำจักรยานขึ้นไปปั่นได้ถ้าทักษะไม่ดีมาก่อนแต่ก็สามารถค่อยๆฝึกได้ โดยมีคนช่วยจับหรือปั่นใกล้กำแพงที่มีที่ยันได้จนกว่าจะคล่อง ในระหว่างปั่นอยุ่ควรจะมีสมาธิถ้าเผลอมีโอกาสตกลงมาได้ตลอดเวลา ที่สำคัญบนลูกกลิ้งไม่อาจฝึกซ้อมการปั่นจักรยานได้อย่างสมบูรณ์เหมือนแบบจับดุม
2.เทรนเนอร์สำหรับจับขอบล้อบริเวณริมเบรค
ข้อดีคือตัวลูกกลิ้งไม่ได้สัมผัสหน้ายาง ทำให้ไม่เปลืองยาง สามารถใช้ยางระดับดีที่ติดรถได้เลยไม่ต้องเปลี่ยนไปมา
ข้อด้อย ต้องดูแลและซ่อมบำรุงชิ้นส่วนของอุปกรณ์อยู่เสมอ เช่น ลุกกลิ้งและสายพาน ที่สำคัญเทรนเนอร์แบบจับขอบ น่าจะสูญพันธ์ไปแล้ว
3.เทรนเนอร์แบบจับหน้ายาง
ข้อดี ไม่ต้องยุ่งยากเรื่องชนิดของขอบล้อ มีความสะดวกในการใช้งาน เพียงแค่ปรับแรงกดลูกกลิ้งที่พอเหมาะบนหน้ายาง ตามคู่มือที่แนะนำไว้ มีความแข็งแรงทนทาน และสามารถใช้ในการฝึกซ้อมได้หลากหลายรูปแบบ
ข้อด้อย ที่สำคัญคือมันเปลืองยางมากกว่าแบบอื่น ดังนั้นถ้าหากใช้ยางนอกราคาแพงๆ ก็ควรจะต้องถอดออกแล้วหายางนอกเก่าๆมาใส่แทน ดูจะเป็นการเข้าท่ากว่า หรือดีกว่านั้นคือ หายางนอกสำหรับใช้กับเทรนเนอร์โดยเฉพาะมาใช้ หรือจะหาล้อหลังถูกๆมาใช้เป็นล้อสำหรับปั่นบนเทรนเนอร์โดยเฉพาะก็ได้หรือจะหารถเก่าๆ รถวินเทจทั้งคันที่ราคาไม่กี่พันมาผูกติดไว้บนเทรนเนอร์เลยก็จะเป็นการดีมาก
ปัญหาโลกแตก เรื่องเฟรมคาร์บอนกับเทรนเนอร์
ในปัจจุบันวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีของคาร์บอนที่ใช้สำหรับผลิตจักรยาน มีความก้าวหน้าไปมากแล้ว เฟรมคาร์บอนได้มีการทดสอบต่างๆแล้วว่ามีความสามารถในการทนแรงบิดต่างๆได้สูงมาก สูงเกินกว่าแรงของมนุษย์ธรรมดาจะทำให้เสียหายได้ แม้แต่เฟรมที่เป็นโลหะต่างๆก็ยังไม่แข็งแรงเท่าและอาจจะเกิดความเสียหายได้ง่ายกว่าด้วย
ดังนั้นใครอยากเอาเฟรมขึ้นเทรนเนอร์ก็เอาขึ้นไปเถอะครับ เอาไว้ฝึกทักษะต่างๆ โปรแกรมต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย เพียงแต่อย่ารุนแรงกับมันมากจนเกินไปนัก อย่าไปฝึก sprint หรือ ยืนโยก กด กด แบบเอาให้ตายกันไปข้างหนึ่งแล้วกัน ส่วนตัวน้า ยังไม่เคยเห็นความเสียหายของจักรยานคาร์บอนที่ใช้บนเทรนเนอร์ครับ
เครดิต พิชิตชน สุนทรวร เป้ มหาชัย กลุ่ม 100 Rpm Room