Rider.in.th กิจกรรมปั่นจักรยานและข่าวสารชาวจักรยาน

  • หน้าแรก
  • ข่าวชาวจักรยาน
    • เปิดตัวจักรยานใหม่
    • Gadget จักรยาน
  • ปฏิทินกิจกรรม
    • ปฏิทินกิจกรรมปั่นจักรยาน
    • ปฏิทินงานจักรยาน
    • ส่งข้อมูลงานปั่นจักรยาน
  • ปั่นไป ยิ้มไป
  • รีวิว แนะนำ เส้นทางปั่น
    • เส้นทาง
  • นานาสาระ
  • รวมวีดีโอ ดีๆ
  • ค้นหาจักรยานหาย
 Rider.in.th กิจกรรมปั่นจักรยานและข่าวสารชาวจักรยาน
  • ส่งข้อมูลงานปั่นจักรยาน
  • ค้นหา
  • แจ้งจักรยานหาย
  • ติดต่อเรา
  • Sitemap
  • หน้าแรก
  • บทความ สาระ
  • ทำไม!!! ต้องแช่น้ำแข็งหลังจาก การแข่งขันหรือซ้อมกีฬาเสร็จ

ทำไม!!! ต้องแช่น้ำแข็งหลังจาก การแข่งขันหรือซ้อมกีฬาเสร็จ

Created
วันอาทิตย์, 07 เมษายน 2562

 l ice bath athletes recovery

ส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงการแช่น้ำแข็ง เราไม่ได้หมายถึงการแช่ในอ่าง/ถังที่ใส่น้ำแข็งเป็นก้อนเพียงอย่างเดียว เทคนิคนี้จะเป็นการใช้น้ำผสมกับน้ำแข็งซึ่งเป็นการรักษา โดยใช้ความเย็นวิธีหนึ่ง ที่เรียกว่า Cryotherapy วิธีการรักษาด้วยความเย็นเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ใช้ในการรักษาอาการบาดเจ็บใหม่ๆ (24-48 ชั่วโมงหลังจากได้รับบาดเจ็บ) เช่น เนื้อเยื่อฉีกขาด เอ็นอักเสบ มีภาวะ delay onset muscle soreness (DOMS) โดยให้ผลการรักษา ได้แก่

  • ห้ามเลือด
  • ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ
  • ลดบวม
  • ลดความเจ็บปวด
  • ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • ช่วยขจัดกรดแลคติคออกจากเนื้อเยื่อ
  • ลดอัตราการเผาผลาญของเนื้อเยื่อ

นอกจากนี้ ความเย็นมีผลต่อแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งงานวิจัยพบว่า หลังจากให้ความเย็น จะมีการเพิ่มของแรงกล้ามเนื้อมากกว่าก่อนใช้ความเย็น ซึ่งเกิดจากการเร่งการทำงานของ motor unit ในกล้ามเนื้อ เพิ่มเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อจากการเปลี่ยนแปลงของ sympathetic nerve activity และอาจได้แรงกระตุ้นจากภาวะทางจิตใจร่วมด้วย

ความเย็นมีผลช่วยลดอาการเกร็งโดยช่วยกระตุ้นการทำงานของอัลฟามอเตอร์นิวโรนและลดการทำงานของแกมมามอเตอร์นิวโรนทำให้ความถี่ในการสั่งงานลดลง จึงลดอาการเกร็งได้

ความเย็นมีผลต่อระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ช่วยให้ร่างกายเย็นลง เพิ่มแรงต้านทานหลอดเลือดส่วนปลาย ความดันโลหิต, Stroke volume มากขึ้น และอัตราการเต้นของหัวใจ, Cardiac output, การไหลของเลือดส่วนปลายลดลง

การเลือกใช้อุณหภูมิในการแช่

อุณหภูมิที่ใช้ในการแช่ส่วนใหญ่ประมาณ 15-20 องศาเซลเซียส ทำได้โดยการผสมน้ำและน้ำแข็ง ให้ได้อุณหภูมิตามที่ต้องการ เพราะการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทั้งเฉพาะที่และทั่วร่างกายโดยกลไกทางระบบประสาทขึ้นอยู่กับตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนัง และทางเดินเส้นประสาทนำเข้าที่จะต้องมีความปกติดี จึงทำให้เกิดการตอบสนองที่เหมาะสม ใยประสาทที่รับความเย็นจะเริ่มนำความรู้สึกเจ็บปวดแทนที่ความรู้สึกเย็นมากขึ้นหากใช้อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่หลอดเลือดหดตัวจนเนื้อเยื่อเริ่มเกิดภาวะขาดเลือดทำให้ได้รับอันตรายได้ และหากใช้อุณหภูมิที่เย็นจัดเกินไปจะทำให้บริเวณที่บาดเจ็บมีการบวมเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนตัวรับความรู้สึกอุ่นที่ผิวหนังจะเริ่มทำงานที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส หากเริ่มต้นผสมน้ำที่อุณหภูมิสูงกว่า 20 องศาเซลเซียสอุณหภูมิของน้ำภายหลังจากนักกีฬาแช่ตัวจะอุ่นเร็วขึ้น ทำให้การลดอุณหภูมิแกนกลางไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร อีกทั้งกระตุ้นให้ตัวรับความรู้สึกอุ่นเริ่มทำงานเร็วขึ้นส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้นได้

การตอบสนองต่อความเย็นโดยกลไกทางระบบไหลเวียนเลือดซึ่งร่างกายมีกลไกควบคุมอุณหภูมิโดยการถ่ายเทความร้อนระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำลึก ซึ่งมีทิศทางการไหลของเลือดที่ตรงข้ามกัน เรียกว่า “countercurrent heat exchange” ในสภาพที่เย็น หลอดเลือดดำผิวจะตีบตัว เลือดดำจากชั้นตื้นจะไหลสู่หลอดเลือดดำลึกมากขึ้น การระบายความร้อนจากหลอดเลือดแดงจะผ่านหลอดเลือดดำลึกได้ดีขึ้นซึ่งจะช่วยลดความร้อนของกล้ามเนื้อได้เร็วขึ้น

การตอบสนองความรู้สึกเมื่อได้รับความเย็น

ความรู้สึกที่ได้รับความเย็นอาจไม่ค่อยสบายในช่วง 2-3 นาทีแรกเพราะร่างกายจะค่อยๆ เย็นขึ้น จนเย็นจัด จากนั้นจะรู้สึกแสบ ปวดและผลสุดท้ายที่ต้องการคืออาการชา ทำให้นักกีฬารู้สึกทรมานจากความเย็นสักครู่ จากนั้นอาการปวดจึงลดลงได้ ในฐานะของผู้รักษาจึงควรอธิบายความรู้สึกนี้ให้นักกีฬาทราบก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่แช่ในน้ำแข็งเป็นครั้งแรก

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

เอกสารอ้างอิง

1. Kevin M., Rick W.,David H. Functional Performance Following an Ice Immersion to the Lower Extremity. Journal of Athletic Training, Vol 31(2) June 1996: 113-116.
2. กันยา ปาละวิวัธน์. การรักษาด้วยเครื่องไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เดอะบุ๊ค, 2543: 264-305.
3. Elizabeth Quinn. After Exercise Ice Bath & Recovery.
4. Vaile J, O’ Hagan C, Stefanovic B, et al. Effect of cold water immersion on repeated cycling performance and limb blood flow. British Journal Sports Medicine.March 2010:1-6.

เครดิต คลินิกหมอกัญยาณัฐ กายภาพบำบัด

บริจาคเลือด 1 ครั้ง เผาผลาญได้ตั้ง 650 แคลอรี 8 / 159 ปวดเข่าให้ขี่จักรยาน หรือขี่จักรยานแล้วปวดเข่า ?
  • Voting
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • Hits
    7409 views

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

  • ใช้เกียร์จักรยานให้ถูก ขี่ง่ายไม่พังเร็ว
  • รู้ไหมทำไม ปั่นจักรยานแข็งแรงกว่าวิ่ง
  • ปั่นจักรยานช้าหรือปั่นเร็วอันไหนเผาผลาญไ...
  • การตั้งเกียร์จักรยาน คุณก็ทำเองได้
  • เทคนิคการซ้อมปั่นจักรยาน เพื่อพิชิต 100 ...
Facebook

TAGS CLOUD

  • หนังสือ
  • แนะนำทีม
  • เดินชมร้านจักรยาน
  • Bike for Mom
  • มือใหม่
  • เทคนิคซ้อมปั่น
  • gear
  • สุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ภาพยนตร์
  • ดูแลรักษาจักรยาน
  • เสือภูเขา
  • MTB
  • Mountain bike
  • ลดน้ำหนัก
  • จักรยานเสือหมอบ
  • 100RPM Room
  • หน้าแรก
  • ข่าวชาวจักรยาน
  • ปฏิทินกิจกรรม
  • ปั่นไป ยิ้มไป
  • รีวิว แนะนำ เส้นทางปั่น
  • นานาสาระ
  • รวมวีดีโอ ดีๆ
  • ค้นหาจักรยานหาย