- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- เกือบครึ่งหนึ่งของอัตราการเสีย ชีวิตทั้งหมดจากการจราจรทาง ถนนเกิดกับคนเดินเท้า คนปั่น จักรยาน และคนขี่จักรยานยนต์
เกือบครึ่งหนึ่งของอัตราการเสีย ชีวิตทั้งหมดจากการจราจรทาง ถนนเกิดกับคนเดินเท้า คนปั่น จักรยาน และคนขี่จักรยานยนต์
เกือบครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตทั้งหมดจากการ จราจรทางถนนในโลกเกิดกับคนที่ป้องกันตัวได้น้อย มาก เช่น คนขี่จักรยานยนต์ (ร้อยละ 23) คนเดินเท้า (ร้อยละ 22) และคนปั่นจักรยาน (ร้อยละ 4) อย่างไร ก็ดี คนขี่จักรยานยนต์ คนเดินเท้า และคนปั่นจักรยาน ในแต่ละภูมิภาคมีความเสี่ยงจะเสียชีวิตบนถนนใน อัตราแตกต่างกัน กล่าวคือ พบว่า คนเดินเท้าและคนปั่นจักรยาน ในภูมิภาคแอฟริกามีอัตราการเสียชีวิตจาก การจราจรทางถนนสูงถึงร้อยละ 43 ของการ เสียชีวิตทั้งหมดที่เกิดจากการจราจรทางถนน แต่ อัตราดังกล่าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค่อนข้างต่ำ (ดูภาพประกอบ 6) ตัวเลขเหล่านี้สะท้อน ให้เห็นภาพส่วนหนึ่งเกี่ยวกับระดับของมาตรการ ความปลอดภัยที่นำ มาใช้ป้องกันผู้ใช้ถนน กลุ่มต่างๆ และรูปแบบการเดินทางที่เป็นที่นิยมใน แต่ละภูมิภาค
ถ้ารถยนต์ที่ขับด้วยความเร็ว ต่ำ กว่า 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชนคนเดินเท้า ซึ่งอยู่ในวัย ผู้ใหญ่ โอกาสเสียชีวิตจะต่ำ กว่าร้อยละ 20 แต่ถ้าถูกชน ที่ความเร็ว 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ความเสี่ยงจะเสีย ชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60
ระบบถนนที่ปลอดภัยต้องคำนึงถึงความจำเป็นของผู้ใช้ถนนทุกคน
การคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยระหว่างการ ออกแบบโครงการก่อสร้างถนนจะเป็นประโยชน์อย่าง ยิ่งต่อผู้ใช้ถนนในแง่ของความปลอดภัย โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การออกแบบและการซ่อมถนนด้วยระบบที่ เอื้อต่อความปลอดภัย (Safe System) รองรับความ ผิดพลาดอันเกิดจากมนุษย์ โดยใช้โครงสร้างต่างๆ จัดการกับการใช้ความเร็วในการขับขี่ และลดโอกาส เกิดอุบัติเหตุ (เช่น ทำ ให้ถนนกว้างขึ้นหรือเพิ่มทาง ข้ามคนเดินเท้า) และใช้วิธีต่าง ๆ บรรเทาความรุนแรง ของอุบัติเหตุ (เช่น ใช้เครื่องกีดขวางริมถนน และ สร้างวงเวียน) สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยลดการเสียชีวิตและ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนได้
สรุปและข้อแนะนำ
รายงานฉบับนี้ชี้ว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ทางถนน 1.25 ล้านคนต่อปี และตัวเลขนี้ค่อนข้าง คงที่มาตั้งแต่ปี 2550 แม้ว่าการใช้รถยนต์จะเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว แต่จำ นวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทาง ถนนค่อนข้างคงที่ ทำ ให้เห็นถึงความก้าวหน้าของ สิ่งที่ได้ดำ เนินการไป อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการ บรรลุเป้าหมายของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 แน่นอนว่าสิ่งที่ดำ เนินการขณะนี้เพื่อลด จำ นวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนยังถือว่า ไม่เพียงพอ
ในการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนให้ประสบ ความสำ เร็จและได้ผลในระยะยาว หลายประเทศเลือก ใช้แนวทางกว้างๆ ในการแก้ไขปัญหาความปลอดภัย ทางถนน ซึ่งมีหลายมิติ ดังนั้น สิ่งที่ท้าทายในขณะ นี้ คือ ทำ อย่างไรจึงจะนำ ความสำ เร็จของประเทศที่ สามารถลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไปใช้ ในประเทศอื่นให้ได้ผลสำ เร็จเหมือนกัน แต่ใช้เวลาน้อย กว่า แม้ว่าเจตนารมณ์ทางการเมืองจะมีส่วนสำ คัญ ในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆ แต่การ ดำ เนินการในประเด็นต่างๆ ที่มีความเฉพาะตัวก็เป็น สิ่งจำ เป็น ดังนี้
- กฎหมายที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัจจัย เสี่ยงสำ คัญ ๆ จะช่วยลดการบาดเจ็บและการ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนได้ ความ ก้าวหน้าในเรื่องนี้ คือ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มี 17 ประเทศ (มีประชากรรวมกันร้อยละ 5.7 ของประชากรโลก) ได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญๆ ให้สอดคล้องกับหลัก ปฏิบัติที่ดี อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศที่ยัง ไม่ได้ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล
- การขาดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงมัก เป็นเหตุให้กฎหมายมีประสิทธิภาพด้อยลงใน การลดการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจาก อุบัติเหตุทางถนน ดังนั้น ต้องดำ เนินการ ให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดประสิทธิภาพ สูงสุด
- ความต้องการของคนเดินเท้า คนปั่นจักรยาน และคนขี่จักรยานยนต์ ไม่ได้รับความสนใจ มากเท่าที่ควร แม้ว่าคนกลุ่มนี้จะมีอัตราการ เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 49 ของการเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลก ดังนั้น การ ทำ ให้ถนน ทั่วโลกปลอดภัยคงไม่อาจเป็นจริง ได้ ถ้าการส่งเสริมความปลอดภัยทางถนน ไม่คำ นึงถึงความต้องการของผู้ใช้ถนนกลุ่ม นี้ นอกจากนี้ การสร้างความปลอดภัยให้กับ การเดินเท้าและการปั่นจักรยานยังมีประโยชน์ เชิงบวกในด้านอื่นอีกเช่นกัน กล่าวคือ ถ้าการ เดินเท้าและการปั่นจักรยาน ซึ่งเป็นการขนส่ง รูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องใช้รถยนต์ เป็นที่นิยม แพร่หลาย จะทำ ให้มีการออกกำ ลังมากขึ้น ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิด ประโยชน์ต่อสุขภาพ
- การทำ ให้รถยนต์มีความปลอดภัยมากขึ้นมี ความสำ คัญต่อการลดการเสียชีวิตจากอุบัติ ทางถนน ทั้งนี้ ร้อยละ 80 ของประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศรายได้น้อยและ ปานกลางยังไม่สามารถปฏิบัติตาม มาตรฐาน สากลขั้นพื้นฐานด้านความ ปลอดภัยของยานพาหนะได้ นอกจากนี้ การ ที่ประเทศรายได้ปานกลาง (ซึ่งกลายเป็น ประเทศผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่มากขึ้น เรื่อยๆ) ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว อาจ ส่งผลเสียต่อการดำ เนินการของโลกเพื่อให้ ถนนปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลของ ประเทศต่างๆ จึงต้องดำ เนินการโดยเร่งด่วน เพื่อให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบรถยนต์ต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลขั้นพื้นฐาน รวม ทั้ง ห้ามนำ เข้า หรือจำ หน่ายรถยนต์ไม่ได้ มาตรฐานในประเทศต่าง ๆ
ประเทศต่างๆ ต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ถนน ปลอดภัยมากขึ้น เช่น ปรับปรุงข้อมูลการบาดเจ็บ จากการจราจรทางถนนให้ดีขึ้นและสอดคล้องกับ มาตรฐานสากล การมีหน่วยงานหลักที่มีอำ นาจและ ทรัพยากรในการพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติด้าน ความปลอดภัยทางถนน โดยหน่วยงานนี้ทำ หน้าที่ กำ กับดูแลการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว และ ปรับปรุงคุณภาพการดูแลรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจาก อุบัติเหตุทางถนน
จาก รายงาน สถานการณ์ โลกด้าน ความปลอดภัย ทางถนน พ.ศ. 2558 ของ องค์การอนามัยโลก ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.who.int/violence_injury_prevention/road_traffic/en/