- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- กล้วยป้องกันตะคริว ศัตรูร้ายที่สร้างความเจ็บปวดให้ กับนักจักรยาน
กล้วยป้องกันตะคริว ศัตรูร้ายที่สร้างความเจ็บปวดให้ กับนักจักรยาน
เมื่อพูดถึงตะคริว มีนักกีฬาจํานวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักศัตรูร้ายตัวนี้ และเป็นสิ่งที่นักกีฬาทั้งหลายไม่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นกับ ตัวเอง ไม่เพียงแต่นักกีฬา แม้นแต่บุคคลอื่นทั่วไปก็ไม่ปรารถนาให้เกิดขึ้นกับตนเองเช่นกัน สําหรับนักกีฬาทุกคนและวหาก เมื่อไหร่เจ้าศัตรูร้ายตัวนี้เข้ามาเยือนแล้ว นอกจากจะสร้างความเจ็บปวดและว เป็นอันว่าเกมส์นี้ต้องยุติโดยปราศจากรางวัล ใดๆอกีด้วย
ตะคริวนั้นร้ายกาจขนาดไหน ? ตะคริว คืออาการเกร็งที่เกิดจากการหดของกล้ามเนื้อน่อง (Gastrocnemius) และกลุ่มกล้ามเนื้อขาตอนบน (Quadriceps) อาการหดตัวชนิดนี้ จะแตกต่างจากลักษณะปกติของกล้ามเนื้อในขณะที่มีการเคลื่อนไหวซึ่งจะหดตัว คลายตัวสลับกันไป แต่ตะคริวจะเกิดจากการหดตัว อย่างรุนแรงและไม่คลายตัวง่าย ๆ ทําให้เกิดการเจ็บปวดอย่างมาก เมื่อเป็นที่กล้ามเนื้อใดแล้ว ถ้ามิได้รับการแก้ไขในทันท่วงทีอาจจะลุกลามแผ่กระจายไปสู่ กล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่อยู่ใก้เคียงได้ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่อยู่ในกลุ่มกล้ามเนื้อเดียวกัน ตะคริวจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อส่วนนั้น ขาดพลังงานและแร่ธาตุสําคัญ ๆ ที่จําเป็นไปหล่อเลี้ยงได้แก่ เกลือแร่ แมกนีเซียม โปรตัสเซี่ยม แคลเซี่ยม ละโซเดี่ยม ซึ่งการขาดสิ่งเหล่านี้มักจะมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ออกกําลังกาย เกินระดับความสามารถของตนเอง เกิดจากการขาดน้ําที่จะช่วยนําพลังงาน และแร่ธาตุไปสู่กล้ามเนื้อเกิดจากการบริโภคสารอาหารที่จําเป็น และเกิด จากการจัดลักษณะความพอดีของการจัดท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง และจากการใช้พลังงานกล้ามเนื้อมากเกินจนเกิดการเมื่อยล้า มีการหลั่งกรดแลคติก (Lactic Acid) ออกมากเกินไป ก็ป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากร่างกายส่งพลังงานและแร่ธาตุที่จําเป็นเข้าไปทดแทนในกล้ามเนื้อที่ทํางานอย่างหนักนั้นไม่ทัน อีกทั้ง การที่ระให้กรดแลคติกสลายตัวไปนั้นจะต้องใช้เวลาพอสมควร อาการนี้จะเกิดง่ายในช่วงของการออกกําลังกายเหนือระดับแอโรบิก (Aerobic) คือช่วงที่ร่าง กายทํางานโดยใช้พลังงานมาจากที่สะสมไว้เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ใช้ออกซิเจนเข้ามาช่วย
สาเหตุที่ทำให้เกิดตะคริว
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดตะคริว แต่สันนิษฐานได้ว่าเกิดจากสาเหตุดังนี้
- การขาดเกลือแร่ :
เป็นการสูญเสียเหงื่อขณะเล่นกีฬาหรือขณะ ทำงานที่ต้องใช้แรงงาน ทำให้ร่างกายสูญเสียโพแตสเซี่ยมและโซเดี่ยม ซึ่งเป็นเหตุให้เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโพแตสเซี่ยมถ้ามีปริมาณน้อยจะส่งผลต่อการเกิดตะคริวได้มากที่สุด ซึ่งโพแทสเซี่ยมจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายจากความร้อนที่เกิดขึ้นใน ระหว่างวันหรือขณะออกกำลังกาย ช่วยกำจัดของเสียในร่างกาย
- การอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ :
เช่นในนักกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้ออย่าง หนักขณะเล่นกีฬา, การทำงานที่ต้องยืน เดินต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน การใส่รองเท้าส้นสูงก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดตะคริวได้เช่นกันนะ ครับ ถ้าใครที่ใส่ส้นสูงแล้วเป็นตะคริวบ่อยๆลองเปลี่ยนเป็นใส่รองเท้าผ้าใบดูนะ ครับอาการที่เป็นตะคริวจะได้ทุเลาลง
- การขาดเลือดหล่อเลี้ยง :
ในบางครั้งการใส่เสื้อผ้าหรือกางเกงที่รัด แน่นจนเกินไปทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หรือในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ทำให้หลอดเลือดใหญ่ภายในช่องท้องถูกกดทับจึงอาจทำให้เกิดอาการได้ เป็นต้น
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกายอย่างฉับพลัน :
เปลี่ยนจากร้อนเป็นเย็น หรือจากเย็นเป็นร้อนทันที เช่น การว่ายน้ำ ที่นักว่ายน้ำมักเป็นตะคริวก็น่าจะเกิดจากสาเหตุนี้โดยเฉพาะในนํ้าที่เย็น
- การดื่มนํ้าน้อย :
ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดีเซลล์กล้าม เนื้อจึงขาดนํ้า และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดตะคริว โดยมากมักพบในผู้สูงอายุ ถ้าผู้สูงอายุคนไหนที่มีอาการช่วงนอนหลับตอนกลางคืนบ่อยๆคาดว่าจะมาจาก สาเหตุนี้แหละครับ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดื่มนํ้าอุ่นก่อนนอนสัก 1 แก้ว สวมถุงเท้าก่อนนอนเพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่และให้ระบบการไหลเวียนเลือด ทำงานได้เป็นปกติ
การดูแลตนเองเมื่อเป็นตะคริว และการป้องกัน
- ยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวค้างไว้ 15-20 วินาทีและทำซํ้าจนกว่าอาการปวดจะทุเลาลง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่องให้ใช้มือดันข้อเท้าขึ้นจนรู้สึกตึงน่องค่างไว้ และทำซํ้าจนกว่าอาการจะทุเลาลง
- หมั่นออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่กล้ามเนื้อมัดนั้น
- ดื่มนํ้าไม่ตํ่ากว่าวันละ 8 แก้ว
- ในนักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำนั้น แนะนำให้ทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโพแตสเซี่ยมเพื่อลดโอกาสการเป็นตะคริว เช่น นมสด, กล้วยหอม เป็นต้น
- วอร์มร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกาย 15 นาทีทุกครั้ง
- ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งเป็นผลให้กล้ามเนื้อน่องเกิดการหดเกร็งค้างเป็นเวลานานจนทำให้กล้ามเนื้อล้า ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดตะคริว
กล้วยป้องกันตะคริว
อีกวิธีหนึ่งเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว เนื่องจากขาดสารอาหารที่สําคัญ ได้แก่ โปรตัสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ก็โดยฝึกการรับประทานกล้วย ให้ สม่ำเสมอก่อนการแข่งขัน และในช่วงของการแข่งขันด้วย เพราะในกล้วยจะมีสารอาหารทั้งสามอย่าง และสารสําคัญอื่น ๆ อยู่มากมาย โดยเฉพาะล้วยหอม จะมีโปรตัสเซียมสูงกว่ากล้วยชนิดอื่น ๆ และอย้าลืมดื่มน้ํา รวมทั้งฝึกซ้อมมาก ๆ เช่นกัน