- หน้าแรก
- บทความ สาระ
- จริงหรือ ปั่นจักรยาน = เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
จริงหรือ ปั่นจักรยาน = เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ก่อนหน้านี้เคยมีผลการวิจัยนึงบอกว่า "การปั่นจักรยานของผู้ชายทำให้อวัยวะสืบพันธุ์บอบช้ำ จนอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากและโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ" แต่จากสำรวจนักปั่นจักรยานชายกว่า 5,000 คน พบว่าการปั่นจักรยานไม่ส่งผลที่ก่อให้เกิดภาวะและโรคดังข้างต้น แม้ปั่นมาแล้วกว่า 8 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ก็ตาม เนื่องจากเบาะและชิ้นส่วนต่างๆของจักรยานนั้น มีการเลือกใช้อุปกรณ์และกระบวนการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้น จึงสามารถช่วยลดแรงกระแทกของอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
ในความเป็นจริงแล้ว #การปั่นจักรยานช่วยพัฒนาระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่งส่งผลที่ดีตามมาคือ ช่วย #เพิ่มความต้องการทางเพศ โดยพบว่านักกีฬาจักรยานส่วนใหญ่นั้น มีสมรรถภาพทางเพศเหมือนกับคนที่อายุอ่อนกว่า 4-5 ปี #ในขณะที่นักกีฬาหญิงเลื่อนอาการวัยหมดประจำเดือน (menopause) ออกไปได้กว่า 5 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ผลวิจัยจากฮาวาร์ดยังระบุอีกว่า การปั่นจักรยานเป็นประจำในชายกลุ่มอายุที่มากกว่า 50 ปี สามารถช่วยลดความเสี่ยงอาการ “นกเขาไม่ขัน” ถึง 30% เลยทีเดียว
ดังนั้น นักปั่นจักรยานชายหมดกังวลเรื่องนี้ไปได้เลย เพราะ #การปั่นจักรยานไม่ส่งผลกระทบต่อการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอย่างแน่นอน
เว็บไซต์คาโพเวโล เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจจากผลการศึกษาของ University College London ประเทศอังกฤษ เอาไว้ว่า การปั่นจักรยานไม่ส่งผลก่อให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศหรือการมีบุตรยากอย่างที่คุณผู้ชายหลายคนกลัวแต่อย่างใด
โดยดอกเตอร์มาร์ค เฮเมอร์ นักวิจัยชาวอังกฤษ จาก University College London ได้ทำการศึกษาเพื่อหักล้างผลงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่ตีพิมพ์ลง Journal of Sexual Medicine ซึ่งมีเนื้อหาว่าการปั่นจักรยานของผู้ชาย ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์บอบช้ำจนอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากและโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น โดยเขาทำการสำรวจนักปั่นจักรยานชายกว่า 5,000 คน พบว่าการปั่นจักรยานไม่ส่งผลที่ก่อให้เกิดภาวะและโรคข้างต้น แม้ปั่นมาแล้วกว่า 8 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ก็ตาม เพราะว่าเบาะจักรยานและชิ้นส่วนต่าง ๆ มีการเลือกใช้อุปกรณ์และกระบวนการผลิตที่ทันสมัยมากขึ้น สามารถช่วยลดแรงกระแทกของอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้
อย่างไรก็ตาม มีนักปั่นชายในประเทศอังกฤษอีกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ยังคงมีความกังวลว่าการปั่นจักรยานทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศของตัวเองติดขัดและทำให้เส้นประสาทที่อวัยวะเพศทับกัน ซึ่งนักวิจัยชี้ว่าเรื่องการไหลเวียนเลือดไม่น่ากังวลเท่าไรนัก แต่สำหรับชายวัยกลางคนควรระวังเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นพิเศษ เพราะในผลการศึกษาข้างต้นพบว่าคนที่ใช้เวลาปั่นจักรยานวันละครึ่งชั่วโมง มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 2 เท่า และหากปั่นมากกว่า 8 ชั่วโมง 45 นาทีต่อสัปดาห์ ความเสี่ยงนั้นจะเพิ่มเป็น 6 เท่าเลยทีเดียว
ทั้งนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและการสูบบุหรี่จัด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ ที่สำคัญควรออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่ไปด้วย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศแล้ว
รู้แบบนี้แล้ว พวกเราก็ออกไปปั่นจักรยานกันเถอะ