Rider.in.th กิจกรรมปั่นจักรยานและข่าวสารชาวจักรยาน

  • หน้าแรก
  • ข่าวชาวจักรยาน
    • เปิดตัวจักรยานใหม่
    • Gadget จักรยาน
  • ปฏิทินกิจกรรม
    • ปฏิทินกิจกรรมปั่นจักรยาน
    • ปฏิทินงานจักรยาน
    • ส่งข้อมูลงานปั่นจักรยาน
  • ปั่นไป ยิ้มไป
  • รีวิว แนะนำ เส้นทางปั่น
    • เส้นทาง
  • นานาสาระ
  • รวมวีดีโอ ดีๆ
  • ค้นหาจักรยานหาย
 Rider.in.th กิจกรรมปั่นจักรยานและข่าวสารชาวจักรยาน
  • ส่งข้อมูลงานปั่นจักรยาน
  • ค้นหา
  • แจ้งจักรยานหาย
  • ติดต่อเรา
  • Sitemap
  • หน้าแรก
  • บทความ สาระ
  • กติกาในการจัดการแข่งขันจักรยานเสือภูเขา

กติกาในการจัดการแข่งขันจักรยานเสือภูเขา

Created
วันพุธ, 16 มีนาคม 2559



กติกาจักรยานเสือภูเขา


1. กติกาทั่วไปในการจัดการแข่งขัน

  • สมาคม จักรยานสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสหพันธ์จักรยานนานาชาติ (Union Cycliste Internationale) จะเป็นผู้ออกใบอนุญาต แก่จักรยานเสือภูเขาที่เข้าร่วมในการแข่งขันที่จัดขึ้นในประเทศ
  • ใบ อนุญาตที่ถูกต้องนั้นจะต้องไม่หมดอายุโดยนับจาก วัน / เดือน / ปี ที่ออกให้บนบัตรนั้นเป็นการพิจารณา โดยจะมีผลใช้บังคับเป็นปีต่อปี (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) และผู้แข่งขันทุกคนจะต้องแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ ก่อนที่จะเข้าแข่งขันทุกครั้ง
  • อายุของผู้แข่งขันแต่ละรุ่นนั้น จะพิจารณาจากปีเกิดของผู้แข่งขันถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ส่วนอายุขั้นต่ำที่สุดของผู้แข่งขันที่ทางสหพันธ์จักรยานนานาชาติอนุญาตให้ เข้าแข่งขันได้คือ 17 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการจัดการแข่งขันสามารถจัดรุ่นพิเศษต่ำกว่า 17 ปี ได้โดย รุ่นอายุของการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาประเภทชายและหญิง มีดังต่อไปนี้
    • - เยาวชน อายุระหว่าง 17-18 ปี
    • - รุ่นกระทง อายุ 19 ปีหรือมากกว่า
    • - รุ่นอาวุโส อายุ 30 ปีหรือมากกว่า

ใน กรณีที่มีการแข่งขันในรุ่นเยาวชน หรือ รุ่นอาวุโสน้อยกว่า 15 คน คณะกรรมการจัดการแข่งขันสามารถอนุญาตให้เข้าแข่งขันในรุ่นกระทงได้ แต่ต้องแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ ทราบด้วย
*สมาคมฯ อาจแบ่งรุ่นอื่นๆ นอกเหนือจากที่สหพันธ์ฯ กำหนดได้ เช่น รุ่นเริ่มหัด (Novice), รุ่นนักกีฬา (Sport), รุ่น เชี่ยววชาญ (Expert)


2. เครื่องแต่งกาย

  • การโฆษณาประชาสัมพันธ์ใดๆ บนเสื้อผู้แข่งขันนั้น อนุญาตให้มีได้ตามพอสมควรเว้นแต่ผู้แข่งขันผู้นั้นได้เป็นแชมป์ และได้เสื้อแชมป์ในการแข่งขันครั้งนั้นๆ ส่วนเสื้อแชมป์นั้นจะต้องทำตามที่สหพันธ์ฯ กำหนดไว้ และอนุญาตให้มีโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้ตามตำแหน่งและขนาดที่สหพันธ์กำหนดไว้ ดังนี้ คือ ด้านหน้าและหลังเสื้อติดแผ่นโฆษณาเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยมีส่วนสูงไม่เกิน 10 เซนติเมตรได้ แต่จะต้องติดเหนือแถบสีรุ้งบนเสื้อนั้น ส่วนที่แขนเสื้อนั้นจะมีแถบโฆษณาเป็นแถบได้เพียงแถบเดียวและมีส่วนสูงไม่ เกิน 5 เซนติเมตร ส่วนโลโก้นั้นจะต้องมีขนาดไม่เกิน 25 ตารางเซนติเมตร (5x5)
  • การสวมเสื้อแชมป์โลกนั้น ผู้แข่งขันที่เป็นแชมป์โลกนั้นจะต้องสวมเสื้อทุกครั้งที่มีการแข่งขัน เว้นแต่จะได้เสื้อแชมป์อื่นเป็นเกียรติต่างหาก
  • เสื้อแชมป์โลกที่สวมใส่นั้นจะต้องเป็นเสื้อแชมป์ในรุ่นของตนเองเท่านั้น
  • สำหรับอดีตแชมป์นั้นอาจจะใช้ริบบิ้นสีรุ้งผูกรอบข้อมีหรือคอได้ในระหว่างการแข่งขัน
  • แบบเสื้อที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องเป็นไปตามที่สมาคมฯ กำหนด
  • การติดโฆษณาประชาสัมพันธ์ใดๆ บนเสื้อทีมชาตินั้นมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
    • โลโก้ของการแข่งขัน 2 ชิ้นบนด้านหน้าของเสื้อ โดยแต่ละชิ้นมีขนาดไม่เกิน 64 ตารางเซนติเมตร
    • โลโก้หรือโฆษณาขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร รอบแขนเสื้อ และข้างเสื้อทั้ง 2 ข้างขนาดไม่เกิน 9 เซนติเมตร ส่วนด้านข้างกางเกงทั้ง 2 ข้างนั้นมีขนาดไม่เกิน 9 เซนติเมตร ส่วนโลโก้ของเสื้อนั้นจะต้องอยู่ด้านหน้าและมีขนาดไม่เกิน 25 ตารางเซนติเมตร (5x5)
  • ผู้แข่งขันทุกคนจะต้องสวมหมวกกันน็อกทุกครั้งใน การแข่งขันและฝึกซ้อม อนึ่งหมวกนิรภัยนั้นจะต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ หรือผู้จัดการแข่งขัน

3. สนามแข่งขัน
สนามการแข่งขันจักรยานเสือ ภูเขานั้นจะประกอบไปด้วยถนนที่ราดด้วยยางมะตอย และถนนตามท้องทุ่งนา หรือป่าเขาอันเป็นทางทุรกันดารเต็มไปด้วยหินและกรวด อย่างไรก็ตามตลอดเส้นทางการแข่งขันนั้นจะต้องมีเส้นทางที่เป็นถนนราดยางได้ ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ของระยะทางทั้งหมด การแข่งขันจักรยานเสือภูเขานั้นมีการแข่งขันกันหลายประเภท แต่ในประเทศไทยนั้นมีการแข่งขันที่เป็นที่นิยม คือประเภทดาวน์ฮิลล์ และครอสคันทรี
การแข่งขันจักรยานเสือภูเขาประเภทครอสคันทรี นั้นในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมการจัดแบบระยะสั้น กล่าวคือจะเป็นการแข่งขันเป็นรอบๆ ตามที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันกำหนด โดยมีระยะทางอย่างน้อย 5 กิโลเมตร ในแต่ละรอบ และมักจะมีจุดปล่อยตัวและเส้นชัยจุดเดียวกัน และมีจำนวนผู้แข่งขันนั้นไม่เกิน 80 คน ส่วนเส้นทางการแข่งขันนั้นจะเป็นเส้นทางขึ้นเขาได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของเส้นทางการแข่งขันทั้งหมด การแข่งขันประเภทนี้นอกจากจะต้องใช้ทักษะในการควบคุมรถจักรยานให้อยู่ในเส้น ทางตลอดการแข่งขันแล้วผู้แข่งขันยังต้องมีความอดทนสูงเพราะจะต้องแข่งขันกัน หลายรอบ

ส่วนการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาประเภทดาวน์ฮิลล์ นั้นเส้นทางการแข่งขันมักจะเป็นเส้นทางตามเทือกเขาลำเนาไพร และจะมีทางที่เป็นทางราดยางอย่างดีได้ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ของระยะทางแข่งขันทั้งหมด เส้นทางการแข่งขันนั้นจะเป็นเส้นทางลาดชันเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้แข่งขันนั้นจะต้องอาศัยการควบคุมรถจักรยานให้อยู่ในเส้นทางมากกว่าที่ จะเป็นการประลองกันด้วยกำลังของผู้แข่งขันนั้นจะต้องมีระยะทางอย่างน้อย 1.5 กิโลเมตร และไม่เกิน 5 กิโลเมตร

เส้นเริ่มต้นและเส้นชัย นั้นจะต้องมีแผ่นผ้าบอกเส้นเริ่มต้นและเส้นชัย และต้องอยู่สูงกว่าพื้นดินอย่างน้อย 3 เมตร โดยมีความยาวเท่ากับความกว้างของเส้นทางการแข่งขัน พื้นที่แข่งขันที่จุดเริ่มต้นต้องมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ตลอดระยะทางยาว 30 เมตร และพื้นที่หลังเส้นชัยจะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ตลอดระยะทางยาว 100 เมตร

เส้นทางการแข่งขันจะเริ่มแคบลงได้หลังจากออกจากจุดเริ่มต้นไปแล้ว 750 เมตร หรือประมาณ 3 นาที หลังจากปล่อยตัว

พื้นที่ แข่งขันที่เป็นเส้นชัยนั้น จะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 4 เมตร เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 50 เมตร ก่อนถึงเส้นชัย และกว้างอย่างน้อย 4 เมตรเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 20 เมตร หลังเส้นชัย

ที่ด้านหน้าและหลังเส้น เริ่มต้นจะต้องมีการตั้งรั้วกั้นทั้ง 2 ข้างของถนน ระยะทางไม่น้อยกว่า 50 เมตร อีกทั้งต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ อันที่จะเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

สำหรับการแข่งขันประเภทดาวน์ ฮิลล์ นั้นบริเวณเส้นเริ่มต้นนั้นต้องมีความกว้างอย่างน้อย 2 เมตร และบริเวณเส้นชัยจะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 6 เมตร ส่วนพื้นที่หลังเส้นชัยนั้นจะต้องมีระยะทางอย่างน้อย 50 เมตร และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ขวางอยู่เพื่อใช้ในการหยุดจักรยานหลังสิ้นสุดการแข่งขัน

เส้นทางการ แข่งขันประเภทครอสคันทรี และดาวน์ฮิลล์นั้นจะต้องแยกออกจากกันและต้องไม่มีการใช้ทางร่วมกัน อย่างไรก็ดี ถ้ามีการใช้ทางร่วมกันบางส่วน จะต้องแยกวันเวลาในการแข่งขันและฝึกซ้อมคนละวันกัน
ตลอดเส้นทางการ แข่งขันจะต้องไม่มีสิ่งที่กีดขวางใดๆ หรือถ้าไม่สามารถแก้ไขให้เรียบร้อยได้จะต้องแจ้งให้ผู้แข่งขันทราบล่วงหน้า ก่อนการแข่งขัน และจะต้องแสดงเครื่องหมายบอกเส้นทางเป็นระยะๆ และยิ่งไปกว่านั้นในช่วงระยะทาง 1 กิโลเมตรสุดท้ายก่อนถึงเส้นชัยจะต้องมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัด

  • ก่อนการแข่งขันคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องจัดเตรียมสถานที่ไว้เพื่อให้ผู้แข่งขัน ได้เตรียมตัวก่อนการแข่งขัน
  • ผู้ตัดสินจะต้องได้รับความสะดวกต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับการทำงานและจะต้องจัดให้อยู่ ณ ที่ใกล้เส้นเริ่มต้นและเส้นชัย
  • คณะกรรมการจัดการแข่งขันและเลขานุการตลอดจนทีมงานจะต้องมีสำนักงานที่มิดชิด ในการปฎิบัติงาน
  • จะต้องมีระบบความปลอดภัยที่พอเพียงตามจุดต่างๆ ที่กำหนดไว้เพื่อช่วยเหลือผู้แข่งขันตามสมควร
  • จะ ต้องไม่มีผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแข่งขันเข้ามาในเส้นทางการแข่งขัน ในระหว่างที่มีการแข่งขันอยู่ และจะต้องจัดสถานที่ที่เป็นสัดส่วนให้กับผู้ชมที่เข้ามาชมการแข่งขันอีกทั้งต้องจัดหาอุปกรณ์สื่อสารให้กับ เจ้าหน้าที่อย่างพอเพียง เพื่อใช้ในการประสานงานในระหว่างที่มีการแข่งขัน
  • การ ปล่อยตัวในการแข่งขันประเภทครอสคันทรี การปล่อยตัวในการแข่งขันประเภทนี้นั้นจะปล่อยตัวกันออกมาเป็นกลุ่ม โดยพิจารณาจากสถิติของผู้แข่งขันทั้งหมด ว่าผู้แข่งขันคนใดจะมีสิทธิ์ได้มาอยู่ในแถวหน้าสุดของการปล่อยตัว
  • ผู้แข่งขันคนใดที่มีสถิติดี จะได้รับการวางตัวให้อยู่ในแถวหน้า ส่วนผู้ที่ทำเวลาได้ไม่ดีก็จะถูกวางตัวให้อยู่ในแถวถัดลงไป และในการแข่งขันประเภทนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้องมีการกำหนดจุดให้น้ำไว้ เพื่อให้ผู้แข่งขันสามารถรับน้ำ อาหาร หรือสิ่งอื่นๆ ได้ในระหว่างการแข่งขัน
  • สำหรับการปล่อยตัวในการแข่งขันประเภทดาวน์ฮิลล์ นั้น จะเป็นการปล่อยตัวแบบทีละคนและจะต้องมีการทดสอบเพื่อจัดอันดับในการปล่อยตัว โดยการทดสอบนั้นจะมีขึ้นอย่างน้อย 1 วันก่อนเริ่มการแข่งขัน
  • การปล่อย ตัวนั้นผู้แข่งขันที่ทำเวลามากที่สุดในการทดสอบเพื่อจัดอันดับจะเป็นคนแรก ที่ถูกปล่อยตัวก่อน ส่วนผู้ที่ทำเวลาได้ดีในการทดสอบเพื่อจัดอันดับจะเป็นคนสุดท้ายที่จะได้รับ การปล่อยตัวในการแข่งขัน

4. คณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน
ในการจัดการแข่งขันจะมีคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันฝ่ายต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • คณะกรรมการรับคำร้องทุกข์ ทำหน้าที่พิจารณาคำร้องหรือการประท้วงที่ค้านการตัดสินของคณะกรรมการตัดสิน
  • ตัวแทนทางด้านเทคนิคจากสหพันธ์ฯ ทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันให้ดำเนินไปตามกฎของสหพันธ์ฯ ตลอดจนทำรายงานผลการแข่งขันส่งตรงไปยังสหพันธ์
  • สักขีพยาน ทำหน้าที่สอดส่องดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ในการแข่งขัน
  • ผู้ช่วยสักขีพยาน ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงจากสักขีพยานในกรณีที่สักขีพยานนั้นติดภารกิจ
  • เลขานุการ ทำหน้าที่บันทึกข้อความต่างๆ ของการแข่งขันตลอดจนทำรายชื่อของผู้แข่งขันเพื่อให้การแข่งขันสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
  • เจ้าหน้าที่เส้นชัย ทำหน้าที่จับเวลาและพิจารณาว่าผู้แข่งขันคนใดเข้าเส้นชัยเป็นอันดับแรกโดยจะ มีผู้ช่วยไม่น้อยกว่า 3 นาย ช่วยกันจับเวลา
  • เจ้าหน้าที่ปล่อยตัว ทำหน้าที่ควบคุมการปล่อยตัวให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามลำดับที่กำหนดไว้
  • เจ้าหน้าที่ตรวจจักรยาน ทำหน้าที่ตรวจสอบจักรยานที่ใช้ในการแข่งขันว่าถูกต้องตามกฎขอองสหพันธ์ฯ หรือไม่
  • เจ้าหน้าที่ประจำเส้นทาง ทำหน้าที่สอดส่องดูแลเส้นทางการแข่งขันที่ตนเองดูแลอยู่และทำรายงานให้คณะกรรมการจัดการแข่งขันทราบ
  • เจ้าหน้าที่จับเวลา ทำหน้าที่บันทึกเวลาของผู้เข้าแข่งขันตลอดจนรายงานให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบ

5. หลักฐานในการใช้แข่งขัน

  • ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมีบัตรประจำตัวหรือ License ซึ่งออกโดยสมาคมฯ และต้องแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้ง เมื่อสมัครเข้าการแข่งขัน
  • ผู้เข้าแข่งขันจะต้องติดเบอร์ที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันจัดให้ ณ ที่ต่างๆ ดังนี้
  • ตัวจักรยาน จะต้องมีความสูงของตัวเลขอย่างน้อย 8 เซนติเมตร และมีความหนาของตัวเลข อย่างน้อย 1.5 เซนติเมตร
  • กลางหลังของผู้เข้าแข่งขัน จะต้องมีความสูงของตัวเลขอย่างน้อย 2 เซนติเมตร
  • หัวไหล่ของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งทางเลขานุการจะกำหนดไว้ว่าเป็นไหล่ข้างไหนตัวเลขเหล่านี้จะต้องเห็นโดย ง่าย เบอร์เหล่านี้ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันเป็นผู้กำหนดไว้
  • แผ่นป้ายระบุตัวเลขจะต้องใช้ดังนี้
  • แผ่นป้ายตัวเลขหน้าจักรยานจะต้องมีความกว้าง ยาว ไม่เกิน 18 เซนติเมตร
  • แผ่นป้ายติดตัวจะต้องกว้างไม่เกิน 18 เซนติเมตร ความยาว 20 เซนติเมตร
  • แผ่นป้ายติดไหล่ความกว้างไม่เกิน 12 เซนติเมตร ความยาวไม่เกิน 8 เซนติเมตร

6. การแข่งขัน
การแข่งขันไม่ว่าจะเป็นประเภท ครอสคันทรี หรือ ดาวน์ฮิลล์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องปฎิบัติตามกฎของการแข่งขันอย่างเคร่งครัด

  • ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำการแข่งขันให้ตลอดเส้นทางของการแข่งขันที่กำหนดให้ และไม่อนุญาตให้ใช้เส้นทางลัดหรือเอาเปรียบผู้เข้าแข่งขันคนอื่นในระหว่าง การแข่งขัน กรณีที่ผู้เข้าแข่งขันหลงออกนอกเส้นทางการแข่งขันไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกลับเข้าในจุดเดิมที่หลงออกไป
  • ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากใครทั้งสิ้นในระหว่างการแข่งขันและต้องไม่กล่าววาจาอื่นใดที่หยาบคายหรือ ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นการกีดขวางผู้เข้าแข่งขันคนอื่นในขณะทำการแข่งขัน
  • ผู้เข้าแข่งขันต้องเปิดทางให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นที่เร็วกว่าแซงขึ้นไปได้โดยดี และจะต้องไม่ทำลายธรรมชาติตลอดเส้นทางการแข่งขัน
  • ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ใช้สารกระตุ้นอันเป็นสิ่งต้องห้ามในการแข่งขัน และจะต้องไม่ปรับแต่งจักรยานหรือเปลี่ยนแปลงยาง ตลอดจนได้รับการช่วยเหลือใดๆ จากบุคคลอื่นโดยเด็ดขาด
  • ผู้เข้าแข่งขันต้องไม่ผลัก ดึง หรือกระชาก ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นหรือช่วยผู้เข้าแข่งขันคนอื่นอย่างเด็ดขาด
  • การกีดขวางใดๆ ในช่วงสุดท้ายก่อนถึงเส้นชัย หรือกระทำใดๆ อันเป็นสิ่งกีดขวางในการแข่งขัน บุคคลผู้นั้นจะถูกลงโทษในการแข่งขันครั้งนั้น
  • ผู้เข้าแข่งขันต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาทกันในระหว่างการแข่งขัน


7. บทลงโทษ

  • ว่ากล่าวตักเตือน
  • ปรับเงิน
  • ลดอันดับ
  • เพิ่มเวลา หรือหักคะแนนสะสม
  • ปรับให้แพ้ในการแข่งขันครั้งนั้น
  • ถูกพักการแข่งขัน


8. การประท้วง

  • ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกกล่าวโทษในการแข่งขัน อาจทำการประท้วงได้โดยยื่นเป็นลายลักษณ์อักษร และยื่นต่อคณะกรรมการภายใน 15 นาที หลังการแข่งขันสิ้นสุด พร้อมแนบเงินค่าธรรมเนียมจำนวน 1,000 บาท เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะไม่คือให้ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
  • คำตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือว่าเป็นที่สุด
  • ถ้าการแข่งขันนั้นมีผลต่อ 1 - 5 อันดับแรก จะต้องรอการตัดสินของ คณะกรรมการอันเป็นที่สุดเสียก่อน ก่อนทำการมอบรางวัล

9. สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ ในการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำความเข้าใจในสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆ ที่คณะกรรมการจัดขึ้นเพื่อติดตั้งไว้ในสนามแข่งขัน และต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด

  • สัญลักษณ์และเครื่องหมายบอกเส้นทางนั้นจะเขียนขึ้นด้วยสีที่สามารถมองเห็น ได้แต่ไกลเช่น สีดำ สีฟ้า หรือสีแดง โดยจะเขียนลงบนพื้นสีขาว
  • แผ่นสัญลักษณ์นั้นจะมีความสูงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร และมีความยาวอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
  • แผ่นสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้จะติดตั้งในที่ที่สามารถมองเห็นได้โดยชัดเจน และจะติดตั้งไว้ทางด้านขวาของสนามการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแยกต่างๆ หรือสถานที่ที่น่าจะเป็นอันตรายต่อผู้แข่งขัน
  • ในแต่ละทางแยกของการแข่งขันจะต้องมีเครื่องหมายแสดงตั้งไว้ในระยะทางอย่างน้อย 30 เมตร ก่อนถึงทางแยก
  • ในกรณีที่เป็นทางลาดชันจะมีการติดตั้งเครื่องป้องกันพิเศษต่างๆ เช่น กำแพงไม่ไผ่ ประตูตาข่าย เพื่อป้องกันมิให้ผู้เข้าแข่งขันได้รับอันตราย
  • ในกรณีที่เส้นทางนั้นเป็นเส้นทางที่สามารถใช้ความเร็วได้จะต้องจัดแนวกั้นพิเศษเพื่อไม่ให้ผู้ชมเข้าใกล้ในเส้นทางนั้นมากเกินไป


10. มาตรการความปลอดภัย

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแต่งกายรัดกุม และมีเครื่องป้องกันต่างๆ ครบถ้วนตามที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันกำหนด อีกทั้งทางสมาคมฯ นั้นจะไม่รับผิดชอบต่ออันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้แข่งขัน

  • ในกรณีที่มีเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะต้อง ให้ผู้เข้าแข่งขันมีเครื่องป้องกันพอสมควร
  • ผู้แข่งขันต้องสวมใส่เครื่องป้องกันต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • หมวกนิรภัยแบบคลุมทั้งหน้า
  • เครื่องป้องกัน หลัง, ศอก, เข่า, และไหล่
  • เครื่องป้องกันต้นขา
  • เครื่องป้องกันขา
  • เครื่องป้องกันคาง
  • กางเกงขายาว
  • เสื้อแขนยาว
  • ถุงมือ


11. การสื่อสาร

  • ระบบการสื่อสารนั้นจะต้องจัดให้ครอบคลุมตลอดทั้งเส้นทาง และจะต้องไม่มีจุดบอดใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้
  • ระบบสัญญาธง
  • เจ้าหน้าที่ประจำเส้นทางจะต้องใช้ธงเหลืองชูขึ้นในลักษณะเหยียดตรงเพื่อ เตือนผู้เข้าแข่งขันให้ทราบว่ามีอันตรายอยู่ข้างหน้าในระหว่างการฝึกซ้อม
  • ถ้าเจ้าหน้าที่ถือธงเหยียดตรง ผู้เข้าแข่งขันต้องใช้ความระมัดระวังในการเข้าแข่งขัน
  • เจ้าหน้าที่ธงแดงจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • ธงแดงนั้นจะต้องใช้ได้ทั้งในการฝึกซ้อมและการแข่งขัน
  • การหยุดการแข่งขัน
  • เจ้าหน้าที่ที่ถือธงแดงจะต้องมีวิทยุสื่อสารกับประธานการแข่งขัน ผู้อำนวยการแข่งขันและแพทย์สนามได้อย่างรวดเร็วในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
  • เจ้าหน้าที่ธงแดงจะเป็นคนสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ และรายงานต่อประธานกรรมการแข่งขันและผู้อำนวยการแข่งขันทราบ
  • เจ้าหน้าที่ธงแดง จะต้องประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของอุบัติเหตุให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะๆ
  • ประธานสักขีพยานมีสิทธิออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่โบกธงแดงได้ตลอดเวลา
  • เจ้าหน้าที่ธงแดงในเขตใกล้เคียงจะต้องคอยดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดพร้อมโบกธงเตือนผู้เข้าแข่งขันทราบ
  • ผู้เข้าแข่งขันเมื่อเห็นธงแดงแล้วต้องหยุดรถทันที
  • หลังจากหยุดรถแล้วจะต้องค่อยๆ ผ่านจุดเกิดเหตุไปอย่างช้าๆ และรอคำสั่งว่าจะดำเนินการแข่งขันต่อไปหรือไม่
  • เจ้าหน้าที่ประจำเส้นทางมีสิทธิ์เป่านกหวีดให้สัญญาณผู้เข้าแข่งขันเพื่อให้ทราบว่ามีผู้แข่งขันคนอื่นใกล้เข้ามา


12. การปฐมพยาบาล

  • คณะกรรมการการจัดการแข่งขันจะต้องมีรถพยาบาลอย่างน้อย 1 คัน ประจำอยู่ระหว่างการแข่งขัน
    - เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือจะต้องสวมเครื่องแบบที่สามารถเห็นได้โดยง่ายและเป็นเครื่องแบบเดียวกัน
    - หน่วยปฐมพยาบาลตั้งอยู่ที่ที่สามารถเห็นโดยง่าย
    - หน่วยปฐมพยาบาลจะต้องอยู่ตามจุดที่สำคัญๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที
    - จะต้องมีเจ้าหน้าที่ปฐมพยาบาล อย่างน้อย 6 นาย ประจำจุดต่างๆ ตามเส้นทางการแข่งขัน
    - จะต้องมีแพทย์อย่างน้อย 1 นาย ประจำอยู่ในการแข่งขัน
    - จะต้องมีผู้ X วชาญเส้นทาง ที่สามารถรู้เส้นทางลัดที่จะไปถึงที่เกิดอุบัติเหตุได้เร็วที่สุดประจำอยู่
    - จุดอันตรายต่างๆ จะต้องมีเครื่องหมายให้เห็นได้ชัดเจน และอาจจะมีรถพยาบาลประจำอยู่ที่จุดนั้นเลยก็ได้


13. การฝึกซ้อม

  • ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิ์ที่จะเดินทางสำรวจเส้นทางได้ก่อนการแข่งขัน ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน
  • ผู้เข้าแข่งขันมีสิทธิ์ฝึกซ้อมในสนามได้ 1 วันก่อนการแข็งขัน
  • ผู้จัดการแข่งขันจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้แข่งขันเข้าฝึกซ้อมได้ตลอด 1 วัน ก่อนการแข่งขัน
  • ในช่วงก่อนการแข่งขันผู้แข่งขันผู้แข่งขันมีสิทธิ์ทดสอบเส้นทางในช่วงเช้าได้
  • หลังจากทำการฝึกซ้อมแล้วผู้เข้าแข่งขันจะต้องติดสติ๊กเกอร์เพื่อแสดงว่าตนเองนั้นได้รับการฝึกซ้อมตามสิทธิ์ที่ได้รับเรียบร้อยแล้ว
  • ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเริ่มฝึกซ้อมจากจุดเริ่มต้นเสมอ

14.การขนส่ง

  • ผู้จัดการแข่งขันจะต้องจัดหาพาหนะให้เพียงพอ ที่จะขนส่งผู้แข่งขันและจักรยาน แข่งขันให้ไปถึงที่จุดเริ่มต้นภายใน 1 ชั่วโมง
  • อีกทั้งต้องหามาตรการพิเศษเพื่อรองรับไว้ในกรณีที่มีเหตุขัดข้อง

 

พุงมาจากไหน…มาทำความรู้จักพุงกัน 79 / 157 การลดน้ำหนักด้วยการปั่นจักรยาน
  • Voting
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • Hits
    4435 views

เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด

  • ใช้เกียร์จักรยานให้ถูก ขี่ง่ายไม่พังเร็ว
  • รู้ไหมทำไม ปั่นจักรยานแข็งแรงกว่าวิ่ง
  • ปั่นจักรยานช้าหรือปั่นเร็วอันไหนเผาผลาญไ...
  • การตั้งเกียร์จักรยาน คุณก็ทำเองได้
  • เทคนิคการซ้อมปั่นจักรยาน เพื่อพิชิต 100 ...
Facebook

TAGS CLOUD

  • หนังสือ
  • แนะนำทีม
  • เดินชมร้านจักรยาน
  • Bike for Mom
  • มือใหม่
  • เทคนิคซ้อมปั่น
  • gear
  • สุขภาพ
  • โภชนาการ
  • ภาพยนตร์
  • ดูแลรักษาจักรยาน
  • เสือภูเขา
  • MTB
  • Mountain bike
  • ลดน้ำหนัก
  • จักรยานเสือหมอบ
  • 100RPM Room
  • หน้าแรก
  • ข่าวชาวจักรยาน
  • ปฏิทินกิจกรรม
  • ปั่นไป ยิ้มไป
  • รีวิว แนะนำ เส้นทางปั่น
  • นานาสาระ
  • รวมวีดีโอ ดีๆ
  • ค้นหาจักรยานหาย